ตีความ เลียนแบบ และแปลงสาร เจ้าชายน้อย: จากนวนิยายเชิงปรัชญาสู่แผ่นฟิล์ม
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งเน้นวิเคราะห์การดัดแปลงนวนิยายเชิงปรัชญาเรื่อง “เจ้าชายน้อย” ประพันธ์โดย อองตวน เดอ แซง เตกซูเปรี มาเป็นภาพยนตร์เคลื่อนไหวในรูปแบบสามมิติผสมผสานกับภาพสตอปโมชันที่กำกับโดย มาร์ก ออสบอร์น และออกฉายทั่วประเทศฝรั่งเศสเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2558 โดยพบว่าการดัดแปลงนวนิยายเชิงปรัชญาเรื่องนี้มาเป็นภาพยนตร์อาศัยกลวิธีอยู่ 3 ประการ ได้แก่ 1) กระบวนการตีความแก่นเรื่องและโครงเรื่องในนวนิยายเพื่อนำมาสอดแทรกไว้ในภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติ 2) กระบวนการเลียนแบบโครงเรื่องและการดำเนินเนื้อเรื่อง รวมถึงพฤติกรรมของตัวละครที่ปรากฏในนวนิยายเพื่อนำมาดัดแปลงในภาพยนตร์สตอปโมชันขนานไปกับการเล่าเรื่องใหม่ในภาพยนตร์ และ 3) กระบวนการแปลงสาร โดยนำโครงเรื่อง ตัวละคร ฉากและสถานที่ของนวนิยายเชิงปรัชญามาเล่าใหม่ในภาพยนตร์ ซึ่งจากการดัดแปลงนวนิยายเชิงปรัชญาเรื่อง “เจ้าชายน้อย” มาเป็นภาพยนตร์นี้ได้อาศัยกระบวนการทั้งหมดไปพร้อมๆ กันอย่างแนบเนียนและกลมกลืน เพื่อให้ผู้ชมยังคงได้รับ “สาร” หรือ “แก่นเรื่อง” ที่นวนิยายต้องการสื่อออกมา
Article Details
Section
Research Articles