การเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระภาษาไทยที่ออกเสียงโดยนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยกับผู้พูดภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของสระภาษาไทยที่ออกเสียงโดยนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยกับการออกเสียงของคนไทย ผู้ให้ข้อมูลคนจีนประกอบด้วยกลุ่มที่พูดภาษาจีนถิ่นยูนนาน (YC) ภาษาน่าซี (NX) และภาษาไทลื้อ (TL) เป็นภาษาแม่ ผู้ให้ข้อมูลกลุ่มคนไทยพูดภาษาไทยสำเนียงกรุงเทพฯ เป็นภาษาแม่ ประเด็นการวัดทางกลสัทศาสตร์ได้แก่ ค่าระยะเวลา (ความสั้นยาว) และค่าความถี่ฟอร์เมนท์ที่ 1 และที่ 2 (คุณสมบัติสระ) ของสระเดี่ยวเสียงสั้นและเสียงยาว 9 คู่ในภาษาไทย ผลการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์สามารถตีความได้ว่า นักศึกษาจีนทุกคนแม้ว่าออกเสียงสระเสียงสั้นในภาษาไทยสั้นกว่าสระเสียงยาว แต่สระเสียงสั้นที่ออกเสียงโดยนักศึกษาจีนยาวกว่าสระเสียงสั้นที่ออกเสียงโดยคนไทย นอกจากนี้ สระเสียงยาวที่นักศึกษาจีนออกเสียงก็สั้นกว่าสระเสียงยาวที่คนไทยออกเสียง ในเรื่องคุณสมบัติสระอันเกิดจากการเคลื่อนที่หน้า-หลัง (แนวนอน) และสูง-ต่า (แนวตั้ง) ของลิ้นเมื่อออกเสียงสระ คุณสมบัติสระของผู้ให้ข้อมูลกลุ่ม TL คล้ายคลึงกับคุณสมบัติสระของคนไทยมากกว่าของกลุ่ม YC และ NX
Article Details
Section
บทความวิทยานิพนธ์