การจัดการเรียนรู้รูปแบบสตีมศึกษาเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • กรุณา ลิ้มประเสริฐ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • เกษิณี ผลประพฤติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการรูปแบบสตีมศึกษา, การคิดสร้างสรรค์, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการรูปแบบสตีมศึกษา ซึ่งประกอบด้วยวิทยาศาสตร์ (S) เทคโนโลยี (T) วิศวกรรมศาสตร์ (E) ศิลปะ (A) และคณิตศาสตร์ (M) ผสานเข้าด้วยกัน ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับการหนุนนำต่อเนื่องให้กับครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 8 โรงเรียน (โรงเรียนละ 1 คน) ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม จากนั้นครูเขียนแผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษาที่เหมาะสมกับ บริบทของโรงเรียนและนำ ไปจัดกิจกรรมในชั้นเรียนกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จังหวัดปทุมธานี จำนวน 8 โรงเรียน มีนักเรียนรวม 65 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
1) แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการรูปแบบสตีมศึกษา 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าสถิติทดสอบที

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการคิดสร้างสรรค์ หลังเรียนเท่ากับร้อยละ 76.41 สูงกว่าก่อนเรียนเท่ากับร้อยละ 45.64 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 60 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการสตีมศึกษามีความสามารถในการคิดคล่อง คิดยืดหยุ่น คิดริเริ่ม และคิดละเอียดลออ แสดงว่าผู้เรียนมีการพัฒนาความสามารถในการคิด สร้างสรรค์

References

กมลพร อ่วมเพ็ง. (2560). แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปริมณฑลตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ ค.ม., จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=53369&Key=news2

เจนจิรา สันติไพบูลย์ และวิสูตร โพธิ์เงิน. (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิด STEAM ร่วม กับการสอนเชิงผลิตภาพเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ และความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลงาน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46 (3): 69-85.

ฉัตรทราวดี บุญถนอม และอรพรรณ บุตรกตัญญ. (2558). การจัดประสบการณ์บูรณาการการเรียนรู้สตีม ศึกษาโดยการใช้วรรณกรรมเป็นฐานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย. วารสาร ศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 30 (3): 186-195.

นิพนธ์ จิตต์ภักดี. (2528). การสอนแบบสร้างสรรค์. สารพัฒนาหลักสูตร, 4 (44): 17-18.

บุญยนุช สิทธาจารย์ และขนบพร แสงวณิช. (2561). แนวทางการสอนศิลปะตามแนวคิดสะตีมศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างสรรค์สำ หรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11 (2): 763-780.

พัทฐรินทร์ โลหา และ สิรินาถ จงกลกลาง. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมกล้าแสดงออกและความคิด สร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารราชพฤกษ์, 17 (1): 121-128.

ภิญโญ วงษ์ทอง. (2562). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการ STEAM education ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความพึงพอใจของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 10 (1): 81-99.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-279). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สิรัชญา พิมพะลา และ ฐาปนี สีเฉลียว. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของ STEM โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.

วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 5 (2): 71-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25