การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • ณัฐกฤตา ทองพงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • โสภณ เพ็ชรพวง สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • ญาณิศา บุญจิตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

สมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, การพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา, หลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  2) พัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 การวิจัยมี  3 ขั้นตอน  ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  111 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตร (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ  5 คน  ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยการสนทนากลุ่ม ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 22 คน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี    เขต 3 พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความสามารถส่งเสริม สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ด้านความสามารถใช้และบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  และด้านความสามารถประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารจัดการ 2) ผลการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย  9 องค์ประกอบ ได้แก่  (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์  (3) เนื้อหาของหลักสูตร  (4) สื่อการพัฒนาและแหล่งเรียนรู้ (5) ระยะเวลาในการพัฒนา (6) การวัดและประเมินผล      (7) ประโยชน์ที่ได้รับจากการพัฒนา (8) กระบวนการพัฒนา  และ (9) รายละเอียดหน่วยการเรียนรู้ ผลการประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตร พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 -1.00  3) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากการสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่ามีความเหมาะสมและความเป็นไปได้กับหลักสูตรร้อยละ 100 และมีข้อเสนอแนะในการนำหลักสูตรไปใช้ ควรเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนากับวัตถุประสงค์ โดยเน้นการปฏิบัติจริงโดยใช้ดิจิทัลมากกว่ากระดาษ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564).กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

จิรัชยา สมบูรณ์ชัย. (2563). “ICT For Education” ICT เพื่อการศึกษา และพัฒนาผู้เรียน. เข้าถึงได้จาก:http//erp.mju.ac.th/openFile.aspx?id=MTY5OTI2.[2563, กันยายน 15].

นิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการบริหาร ระบบสารสนเทศของผู้บริหารในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม, 9(2), 18-24.

เต็มจิต จันทคา. (2561). การพัฒนาหลักสูตรภาวะผู้นำทางการศึกษาความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยซีหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน. เข้าถึงได้จากhttp://www.reo3.moe.go.th/web/images/download/Report/Summary_Research.Pdf [2563, มิถุนายน 20].

บรรจบ บุญจันทร์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเทคโนโลยีสารสนเทศสำาหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสารปาริชาติ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(2), 187-206.

พชระ พลอยทับทิม และนันทรัตน์ เจริญกุล. (2558). การศึกษาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเข้าสู่ AEC ของ ผู้บริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จังหวัดเพชรบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 10(3), 189-198.

พนิดา สุวรรณมาลา. (2557). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอโป่งน้ำร้อน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

มารุต พัฒผล. (2562). แนวคิดหลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

มาลินี บุณยรัตพันธุ์. (2558). หลักการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: รามคำแหง.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. (2562). รายงานผลการดำนเนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. สุราษฎร์ธานี : กลุ่มนโยบายและแผน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ:สำนักทดสอบทางการศึกษา.

เอกชัย กี่สุขพันธ์ และคณะ. (2553). การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา : เอกสาร ประกอบการอบรมโครงการยกระดับคุณภาพครูและผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง ระบบ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ปีงบประมาณ 2553-2555. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers.

Likert, S. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T. (1973 ).Statistics : An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York : .Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25