การสังเคราะห์งานวิจัยปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน

ผู้แต่ง

  • รัตนาวดี สมศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

จิตวิทยาศาสตร์ , การสังเคราะห์งานวิจัย, การวิเคราะห์อภิมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 2) เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนด้วยการวิเคราะห์อภิมาน งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์พิมพ์เผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ.2546 – พ.ศ.2562 จำนวน 52 เล่ม ได้ค่าดัชนีมาตรฐาน จำนวน 162 ค่า  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกคุณลักษณะงานวิจัย และแบบประเมินคุณภาพงานวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับ 2 ระดับ

              ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะงานวิจัยที่สังเคราะห์มีตัวแปรกำกับด้านการตีพิมพ์และลักษณะของผู้วิจัย จำนวน 6 ตัว ด้านเนื้อหาสาระของงานวิจัย จำนวน 4 ตัว ด้านวิธีวิทยาการวิจัยจำนวน 14 ตัว และด้านคุณภาพของงานวิจัย จำนวน 1 ตัว มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยรวมทั้งหมด เท่ากับ .303 และปัจจัยที่มีค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความฉลาดทางอารมณ์ (0.4886) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (0.4234) ความสามารถทางการคิด (0.3893) และรูปแบบการสอน (0.36073) ตามลำดับ มีตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 5 ตัวแปรที่ทำให้ค่าขนาดอิทธิพลมีความแตกต่างกัน มีตัวแปรที่ส่งผลต่อขนาดอิทธิพล 18 ตัวแปร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .685 โดยที่ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัยทั้งหมดอธิบายความแปรปรวนของขนาดอิทธิพลได้ร้อยละ 46.9 และมีความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลส่วนใหญ่เกิดจากความแปรปรวนของตัวแปรระหว่างเล่มงานวิจัย 

References

จริยา ชื่นศิริมงคล. (2553). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยด้านเด็กและครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของเด็กด้วยเอ็มเอเอสอีเอ็ม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปวัณรัฏณ์ เล็กสมสันติ์. (2550). การสังเคราะห์งานวิจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วลัยภรณ์ ขุนชนะ. (2550). การวิเคราะห์อภิมานงานวิจัยด้านทักษะการเเก้ปัญหาของนักเรียน. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัศนา จั่นสกุล. (2547). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโมเดลเชิงเส้นตรงระดับลดหลั่น. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิวธิดา ทรัพย์เหมือน. (2554). ประสิทธิผลของปัจจัยสี่ด้านในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน: การวิเคราะห์อภิมาน. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยี. (2546). คู่มือวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรเเห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาไทย : การวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.). กรุงเทพ: โรงพิมพ์เเห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Glass, G.V., McGaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-Analysis in Social Research. Beverly Hills: Sage Publications.

Harris Cooper, L. V. H., Jeffrey C. Valentine,. (2009). The handbook of research synthesis and meta-analysis. New York: Russell Sage Foundation.

Raudenbush Stephen W, & Bryk Anthony S. (1992). Hierarchical Linear Models: applications and data analysis methods. London: Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22