การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์, เจตคติต่อวิชาเคมีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และเจตคติต่อวิชาเคมี โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษา เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบ t-test แบบ dependent sample และ การทดสอบ t-test แบบ one sample
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อวิชาเคมีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
จารีพร ผลมูล, เกริก ศักดิ์สุภาพ และสุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2558). การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEAM สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กรณีศึกษาชุมชนวังตะกอ จังหวัดชุมพร. ใน 34th The National Graduate Research Conference.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). ผลสอบ O-NET. (2561). เข้าถึงได้จาก http://www.niets.or.th/.
ฉัตรสุดา เดชศรี. ครู โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา. (5 ตุลาคม 2560). สัมภาษณ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2548). วิธีการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
หัทยา โรจน์วิรัตน. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับเทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และเจตคติ ต่อวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อารยา ควัฒน์กุล. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล ด้วยการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Kim, D., & Bolger, M. (2015). Analysis of Korean Elementary Pre-Service Teachers’ Changing Attitudes About Integrated STEAM Pedagogy Through Developing Lesson Plans. International Journal of Science and Mathematics Education volume 15(4), 587–605.
Kwon, S., Nam, D., & Lee, T. (2011). The effects of convergence education based STEAM on elementary school students’ creative personality. The 19th International Conference on Computers in Education, Chiang Mai: Asia Pacific Society for Computers in Education.
Land, M. H. (2013). Full STEAM ahead: The benefits of integrating the arts in to STEM. Procedia Computer Science, 20, 547-552.
Madden, M. E., Baxter, M., Beauchamp, H., Bouchard, K., Habermas, D., Huff, M., Ladd, B., Pearon, J., & Plague, G. (2013). Rethinking STEM education: An interdisciplinary STEAM curriculum. Procedia Computer Science, 20, 541-546.
Riley, S. (2014). No Permission Required: A Guide of being STEAM to life K-12 Schools. Westminster: The Vision Board, LLC.
Riley, S. (2016). 6 Steps to creating a STEAM-centered classroom. Retrieved from https://educationcloset.com
Yakman,G. (2008). An overview of creating a model of integrative education. Retrieved form