วิเคราะห์สำนวนภาษาพาดหัวข้อข่าวกีฬาภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ สานะกัง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร
  • อิลนัส จัมชิดเซฮี มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

สำนวนภาษาหัวข้อข่าวกีฬา, การสื่อความหมายของคำ, วิเคราะห์สำนวนภาษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสำนวนรูปแบบภาษาเกี่ยวกับไวยากรณ์การพาดหัวข้อข่าวกีฬาภาษาอังกฤษทั่วไป และในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ โดยการวิเคราะห์สำนวนรูปแบบภาษาการพาดหัวข้อข่าวกีฬาภาษาอังกฤษในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ฉบับรายสัปดาห์ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึง 30 มิถุนายน 2563 รวม 128 ข่าว พบว่า สำนวนรูปแบบภาษาที่ใช้ในหัวข้อข่าวกีฬามี 12 รูปแบบ คือ 1) ไม่ใช้เครื่องหมายมหัพภาค 2) ไม่ใช้ article 3) ใช้คำสั้นๆ แทนคำยาว 4) ใช้คำย่อ 5) ไม่ใช้ กริยา verb to be  6) ใช้เครื่องหมายจุลภาค 7) ใช้เครื่องหมายทวิภาค หรือ ยัติภังค์ 8) ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยวเพื่อแสดงถึงการพูดที่กล่าวโดยใครบางคน หรือคำที่เน้นว่ามีความหมายพิเศษ 9) ใช้ “To infinitive”เพื่อบอกอนาคต 10) ใช้ตัวเลขแทนจำนวนบุคคล 11) ใช้เครื่องหมายคำถามบอกถึงข่าวที่ยังเป็นคำถามหรือไม่ชัดเจน 12) ใช้เครื่องหมายไฮเฟ้นระหว่างคำนามและคำนาม และรูปแบบที่ไม่พบในการพาดหัวข้อข่าว คือ การใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจหรือตกใจ และพบว่าความหมายของคำศัพท์ในหัวข้อข่าวกีฬา มี 2 ประเภท คือ ประเภทใช้มากที่สุด คือ ความหมายโดยตรง และใช้น้อยที่สุด คือ ความหมายโดยอ้อม ในส่วนของโครงสร้างของประโยคในการพาดหัวข้อข่าวกีฬาพบว่า มี 3 โครงสร้าง คือ โครงสร้างที่ใช้มากที่สุด โครงสร้างปัจจุบันกาล ต่อมาคือ โครงสร้างอนาคตกาล และใช้น้อยที่สุด คือ โครงสร้างอดีตกาล

References

ชุติมา สาตร์ร้าย. (2556). ภาษาข่าวหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์แจก M2F. ปริญญานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐิการ์ แสงคำ. (2538). สำนวนที่ใช้ในวงการกีฬามวยจากหนังสือพิมพ์และนิตยสารมวย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดรุณี หิรัญรักษ์. (2538). เทคนิคการเขียนข่าวและหาข่าว. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ธีร์วรา ชะบูรณ์. (2556). วิเคราะห์การใช้ภาษาพาดหัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. ปริญญานิพนธ์ มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นันทนา สิทธิรักษ์. (2544). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การแปลข่าวกีฬาฟุตบอล กรณีศึกษาหนังสือพิมพ์สตาร์ ซอคเก้อร์ ฉบับรายวัน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

นนท์ธวัช ไชยวัง. (2560). รูปแบบการพาดหัวข่าวในเว็ปไซด์หนังสือพิมพ์ไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บังอร กล่องสูงเนิน. (2542). การวิเคราะห์ในการใช้ภาษาพาดหัวข้อข่าวในหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่น ในแง่ของความหมายของคำศัพท์ โครงสร้างของประโยคและวลี. ปริญญานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ปัทมา สัมพันธมิตร. (2558). กลวิธีการแปลพาดหัวข่าวกีฬาฟุตบอลโลก: กรณีศึกษาสถานีวิทยุ สปอร์ตเรดิโอ FM 96 MHz. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประสิทธิ์ กาพย์กลอน. (2519). การศึกษาภาษาไทยตามแนวภาษาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

ไพโรจน์ บัวสุข. (2005). เอกสารประกอบการสอนวิชาข่าวภาษาอังกฤษ. คณะศึกษาศาสตร์ มหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย.

ภูมิสิทธิ์ บุญลิขิต. (2543). วิเคราะห์วาทศิลป์ในข่าวอาชญากรรมของหนังสือพิมพ์รายวัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2558). การวิเคราะห์ลักษณะภาษาที่พบในสื่อโฆษณา. คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีธันว์ อยู่สุขขี. (2541). การศึกษาการใช้สำนวนไทยในการเขียนข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

สุพรรณการ์ กำลังหาญ. (2546). โครงสร้างภาษาอังกฤษที่ใช้ในการพาดหัวข่าวกีฬาในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.

สุมล จักรแก้ว. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสอนคำศัพท์ของครูกับกลยุทธ์การจำคำศัพท์ของผู้เรียน. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สิริวรรณ นันทจันทูล. (2549). ภาษาพาดปกนิตยสารรายสัปดาห์ วิเคราะห์แนวทางการเมืองไทยปีพุทธศักราช 2554 – 2557. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

หนึ่งฤทัย วาที. (2556). การวิเคราะห์การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยจากหนังสือเรื่องแอตแลนติก มหาสมุทรข้ามกาลเวลา. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อิงอร พึ่งจะงาม. (2554). การใช้วัจนคำและกลวิธีทางภาษาบนป้ายโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรชา เผือกสุวรรณ. (2549). การวิเคราะห์การทำวิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2533). ภาษาศาสตร์เชิงสังคมวิทยา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาพรรณชนิด ศิริแพทย์. (2542). การวิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับการกีฬาในหนังสือพิมพ์รายวันที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 2 (2540-2544). วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29