การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม และความพึงพอใจในการเรียน เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ปริพันธ์ หมั่นค้า คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • นพมณี เชื้อวัชรินทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สมศิริ สิงห์ลพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้แบบร่วมมือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการกลุ่ม และความพึงพอใจ  ในการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ      การเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 38 คน ปีการศึกษา 2562 จังหวัดระยอง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา แบบสังเกตกระบวนการกลุ่ม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที แบบ Dependent sample และแบบ One sample และคะแนนพัฒนาการ   ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังการจัดการเรียนรู้  แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือสูงกว่าก่อนเรียน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ร้อยละ 72.58 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยของบลูมทั้ง 6 ขั้น มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกพฤติกรรม (ค่าเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 15.47 และค่าเฉลี่ยหลังเรียน 29.03) และมีคะแนนพัฒนาการอยู่ในระดับสูง (55.28) มีกระบวนการกลุ่ม และความพึงพอใจ ในการเรียนรายวิชาชีววิทยา เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ อยู่ในระดับมาก

References

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2558). ห้องเรียนกลับด้าน. สารานุกรมศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ฉบับที่ 50, 116-128.

กิตติพงษ์ พุ่มพวง และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านรวมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยานเรศวร. 20(2), 1-10.

กุลธิดา ขันสุข. (2561). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และกระบวนการกลุ่มโดยจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านบนเว็บ เรื่องพันธุศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์,มหาวิทยาลัยบูรพา.

จริยา กำลังมาก, ภัทรภร ชัยประเสริฐ และสพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์. (2558). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 11(1), 71-82.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2558). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

วิจารณ์ พานิช. (2557). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์. พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.

วุฒิชัย จารุภัทรกูล, สมศิริ สิงห์ลพ และสพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เจตคติต่อวิชาชีววิทยา และพฤติกรรมการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 (7E) ขั้นร่วมกับการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค STAD. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(1), 151-163.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 9. (2561). แผนบูรณาการด้านการศึกษาภาคตะวันออก. เข้าถึงได้จาก www.suksa-trat.go.th/717

Borich, G.D., & Tombari, M.L. (2004). Educational Assessment for the Elementary and Middle School Classroom (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Merrill Prentice Hall.

Conner, N.W., Rubenstein, E.D., DiBenedetto, C.A., Stripling, C.T., Roberts, T.G., & Stedman, N.L.P. (2014). Examining Student Perceptions of Flipping an Agricultural Teaching Methods Course. Journal of Agricultural Education, 55(5), 65-77.

Mok, H.N. (2014). Teaching Tip: The Flipped Classroom. Journal of Information Systems Education, 25(1), 7-12.

Rehman, R., Hashmi, S., Akbar, R., & Fatima, S.S. (2019). Teaching “Shock Pathophysiology” by Flipped Classroom: Views and Perspectives. Journal of Medical Education and Curricular Development, 7, 1-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29