การพัฒนาเกมที่ใช้ในการเรียนการสอนเรื่อง องค์การและการจัดการขอบข่ายหลักของรัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญ:
เกม, องค์การและการบริหาร, ขอบข่าย, รัฐประศาสนศาสตร์บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกมที่ใช้ในการเรียนการสอนเรื่อง“องค์การและการจัดการขอบข่ายหลักของรัฐประศาสนศาสตร์” มีวิธีดำเนินการวิจัยในรูปแบบแบบแผนการทดลองขั้นต้นแบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง กับนิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาเอกรัฐประศาสนศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 35 คน ทดสอบด้วยแบบทดสอบวัดค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 80 ต่อ 80 ผลการทดลองจากเกมที่สร้างขึ้นเป็นเกมกระดานในลักษณะเกมบันไดงูที่ใช้ในการเรียนการสอนเรื่อง “องค์การและการจัดการขอบข่ายหลักของรัฐประศาสนศาสตร์”ที่ช่วยเพิ่มความรู้ในเรื่ององค์การและการจัดการ มีเนื้อหา 4 ส่วนหลัก ประกอบด้วย 1) ความหมายของทฤษฎีองค์การ 2) ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม 3) ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ และ 4) ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน มีค่าประสิทธิภาพของกระบวนการต่อประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เท่ากับ 87.57 ต่อ 85.42 ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
กุลธิดา ชูเสน และ กาญจนา ธนนพคุณ. (2560). การใช้เกมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เรื่อง พฤติกรรมบางประการของสัตว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.โครงการประชุมสัมมนาวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17 “บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน” วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2560 ณ ศูนย์วัฒนธรรมภาคเหนือตอนล่าง วังจันทน์ริเวอร์วิว มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก.
จุลศักดิ์ ชาญณรงค์.(2562). รัฐประศาสนศาสตร์เบื้องต้น. สมุทรสาคร: พิมพ์ดี.
ฐปนนท์ สุวรรณกนิษฐ์. (2560) . การออกแบบเกมการ์ด เพื่อสร้างความเข้าใจในการเรียนหลักสูตรออกแบบสื่อสาร. การประชุมวิชาการระดับชาติ. "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 13, น.1700-1715.
ทิศนา แขมมณี.(2550). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์.(2560). การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์ของนิสิตระดับอุดมศึกษา.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.19(3), 16-33.
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ อนิรุทธ์ สติมั่น และสุรพล บุญลือ. (2559). ผลการพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์จำลองสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงกลยุทธ์สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ. "นเรศวรวิจัย" ครั้งที่ 12, น.1374-1385.
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ .(2557). ภาพรวมและแนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์.ใน เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ (บรรณาธิการ), เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักรัฐประศาสนศาสตร์, (น.5-7). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ภวิกา เลาหไพฑูรย์ และ กมล โพธิเย็น.(2561). การสอนโดยใช้เกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเลข 3 หลัก ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา.วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.14 (2), 155-170.
ราตรี สุภาเฮือง และ วชิระ อินทร์อุดม. (2555). การพัฒนาเกมการสอนบนเว็บเรื่องการสื่อสารข้อมูลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน 2. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.5 (3), 81-86.
ศิริรัตน์ เกิดแก้ว และ คณะ. (2560) .การพัฒนานวัตกรรม “เกมการประสมคำภาษาไทย” เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเขียนได้.วารสารมนุษย์สังคมปริทัศน์.19 (2), 49-62.