การดำรงชีวิตวิถีใหม่ตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูธรรมคุต (สุทธิพจน์) สุทฺธิวจโน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐชยา กำแพงแก้ว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ณัฐหทัย นิรัติศัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การดำรงชีวิตวิถีใหม่, หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้อยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID–19)  โดยวันที่ 12 มกราคม 2563 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อเป็นครั้งแรก ซึ่งเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทยรัฐบาลได้มีมาตรการในการป้องกันผู้ติดเชื้อในประเทศลดลง จนกระทั่งในเดือนธันวาคม 2563 ได้พบการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย อีกครั้งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 20 ธันวาคม 2563 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์มากมาย โดยเฉพาะคำว่า “New Normal” โดยเฉพาะในประเทศไทยประชาชนจะคุ้นเคยคำนี้จากการแถลงข่าวโรคระบาด ของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID–19)

          การดำรงชีวิตวิถีใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงการเป็นอยู่ในหลายด้าน ปัจจุบันอาจเป็นความเคยชินของหลายๆคน ไม่ว่าจะเป็น การใส่หน้ากากอนามัยเวลาออกนอกบ้านหรือเวลาพบปะผู้คน การใช้เจลแอลกฮอล์ในการทำความสะอาดมือ การทำงานที่บ้านผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ลดการสังสรรค์หรือใช้ชีวิตนอกบ้านและหันมาใช้เวลากับครอบครัวมากขึ้น ในด้านสังคม การปฏิสัมพันธ์ของคนในสังคมลดลง ด้านเศรษฐกิจ ข้อจำกัดในการประกอบอาชีพมีมากขึ้นทำให้ประชาชนมีรายได้ลดลง ด้านการประกอบอาชีพ เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการประกอบอาชีพ บางอาชีพถูกจำกัดจำนวนคนในการเข้าใช้บริการ ทำให้รายได้ลดลง บางกิจการถูกสั่งปิดกิจการโดยรัฐบาลในช่วงมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ด้านการศึกษา มีการใช้ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ด้านสุขภาพ ประชาชนหันมาใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพกันมากขึ้น ด้านครอบครัว ครอบครัวมีเวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น ทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวให้เข้ากับการดำเนินวิถีชีวิตใหม่ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์ เพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนาซึ่งชาวไทยส่วนใหญ่เคารพนับถือ

          การดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ไตรสิกขา หรือ สิกขา 3 ได้แก่ ศีลสิกขา สิกขา คือ ศีล    เราสามารถการปฏิบัติที่เราต้องทำตามที่แพทย์แนะนำหรือการประกาศของรัฐบาลในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID–19) สมาธิสิกขา สิกขา คือ การกำหนดจิตให้แน่วแน่มั่นคง ไม่ทำตัวเป็นกระต่ายตื่นตูม หรือมงคลตื่นข่าวในช่วงการระบาดของเชื้อ ปัญญาสิกขา คือความรู้มีศึกษาหาความรู้ในการที่จะป้องกันโรค ไม่ว่าจะเป็นทางด้านช่องทางเอกสาร หนังสือ ทางออนไลน์ ที่ทางรัฐบาลเผยแพร่มาให้รับรู้รับทราบ และปฏิบัติ และยังมีหลักการบำเพ็ญบุญ ด้วยบุญกิริยาวัตถุ 3 หมายถึง ที่ตั้งแห่งการทำบุญ ได้แก่ การให้ทาน มีการให้ทานทางออนไลน์ ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID–19) การรักษาศีล เป็นการปฏิบัติตัวในรูปแบบต่าง ๆ ตามที่แพทย์แนะนำเพื่อช่วยป้องกันการระบาดของเชื้อ และการเจริญภาวนา ทุกคนสามารถถือโอกาสนี้ในการเจริญจิตภาวนาเพื่อเพิ่มบุญกุศลให้กับตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริกรรมในแบบต่าง ๆ    เช่น พุทโธ-ยุบหนอ พองหนอ-สัมมาอะรรหัง หรือการเจริญอานาปานสติ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละท่านละคน

References

ศบค.พบผู้ติดเชื้อโควิทรายใหม่วันนี้ในประเทศพุ่ง 576 ราย .สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2563 จากhttps://www.prachachat.net/general/news-577369

New Normal คืออะไร ? เมื่อโควิท 19 ผลักเราสู่ชีวิตปกติวิถีใหม่ .สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 จาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/882508.

จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลก.สืบค้นเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2564 จาก https://ddcportal.ddc.moph.go.th/portal/apps/opsdashboard/index.html#/20f3466e075e45e5946aa87c96e8ad65

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). ธรรมะฉบับเรียนลัด, (กรุงเทพมหานคร : สถาบันบันลือธรรม, ), หน้า 14 - 16.

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก.(2553). วิธีสร้างบุญบารมี, พิมพ์ครั้งที่ 28, (กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด), หน้า 1 - 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-29