รสและอลังการในบทละครสันสกฤตเรื่อง “นาคานันทะ”
คำสำคัญ:
วรรณคดีสันสกฤต, นาคานันทะ, รส, อลังการ, พุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอสาระสำคัญของบทละครสันสกฤตเรื่องนาคานันทะ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และมีเรื่องราวที่สนุกสนานจากการใช้รสและอลังการตามทฤษฎีวรรณคดีสันสกฤตด้วย ในการวิเคราะห์รสทางวรรณคดี พบว่าบทละครสันสกฤตเรื่องนาคานันทะมีรสสำคัญ ได้แก่ วีรรส(ความกล้าหาญ) ศฤงคารรส (ความรัก) กรุณารส (ความสงสาร) อัทภุตรส (ความอัศจรรย์ใจ) และหาสยรส (ความสนุกนาน) ส่วนอลังการโดดเด่นที่พบในบทละครสันสกฤตเรื่องนาคานันทะ ได้แก่ อรรถาลังการ (อลังการด้านความหมาย) คือ อุปมา (การเปรียบเทียบ) อปรัสตุตประศังสา (การกล่าวสรรเสริญโดยอ้อม) และสวภาโวกติ (การกล่าวถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามสภาพที่เป็นอยู่โดยธรรมชาติ)
References
กุสุมา รักษมณี. (2549). การวิเคราะห์วรรณคดีไทยตามทฤษฏีวรรณคดีสันสกฤต. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
จำลอง สารพัดนึก. (2546). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นิยม รักไทย. (2552). ร้อยเอกหลวงบวรบรรณรักษ์. สํสกฤต-ไท-อังกฤษอภิธาน. พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงดาว.
ป.ส. ศาสตรี. (2550). อลังการศาสตร์ของวาคภฏ. พระนคร: กรมศิลปากร.
มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์. (2551). ประวัติวรรณคดีสันสกฤต. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา. (2547). ภารตนิยายนิยายโรแมนติกจากคลังวรรณกรรมโบราณ. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แม่คำผาง.
แสง มนวิทูร. (2541). นาฏยศาสตร์ รจนาโดยท่านภรตมุนีฉบับกรมศิลปากรจัดพิมพ์ พุทธศักราช 2541. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์กรมศิลปากร.
BAK KUN-BAE. (1992). NĀGĀNANDA OF HARSA. India: Shri Jainendra Press.
Garg, Ganga Ram. (1972). An Encyclopedia of Indian Literature. Delhi: Mohan Printing Corporation.
Kale, M.R. (1977). A Higher Sanskrit Grammar. Delhi: Motilal Banarsidass.
Macdonell, A.A. (1971). A History of Sanskrit Literature. Delhi: Motilal Banarsidass.
Monier Williams. (1970). Sanskrit-English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.