การเสริมสร้างการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษากลุ่ม, การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม 3) เปรียบเทียบการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 817 คน กลุ่มที่ 2 ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากลุ่มที่ 1 โดยพิจารณาจากนักเรียนที่มีคะแนนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม จำนวน 16 คน แล้วสุ่มอย่างง่าย เพื่อเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 8 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง 2) หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการให้คำปรึกษากลุ่ม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลอง
มีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรรณิการ์ กำธร. (2557). ผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีวัดระฆัง. (ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
กัญญ์ณณัฎฐ์ นันตะวงษ์. (2554). ผลของการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลางต่อการพัฒนาทักษะการจัดการอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชียงยืนวิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม.(วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา)). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น
ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาษิต ทิมสถิต และจุฑามาศ แหนจอน. (2560). ผลการปรึกษากลุ่มแบบเกสตัลท์ต่อการตระหนักรู้ในตนเองของสาวประเภทสอง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 157-158.
รังสิรัศม์ นิลรัตน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสาหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6. (วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการศึกษา)). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน. (2549). การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 5(1), 59-60.
ศิริกุล อิศรานุรักษ์, นุชลดา โรจนพรรณ, ชัยวัฒน์ วงศ์อาษา, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2543). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดา สัมพันธภาพในครอบครัว กับการเห็นคุณค่าตนเองของวัยรุ่น. วารสารกุมารเวชศาสตร์, 39(1), 30.
ศิริพร กลิ่นทอง. (2552). การศึกษาและพัฒนาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีพฤติกรรมการติดเกมคอมพิวเตอร์ ด้วยการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีการวิเคราะห์สัมพันธภาพระหว่างบุคคล. (วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา)). มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
สินีนาฏ สุทิน และคณะ. (2548). การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีวิกรม์ กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว)). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
Collaborative for Academic Social and Emotional Learning CASEL. (2018). What is SEL? Retrieved from https://casel.org/what-is-sel/
Corey. (2008). Theory and Practice of Group Counseling. 7thBrooks / Cole.
Kim. (2006). The Effect of A bullying Prevention Program on Responsibility and Victimization of Bullied Children in Korea. Inthenational Journal of Reality Therapy, 1, 6. TH SarabunPSK 16 Point
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2021-12-25 (2)
- 2021-12-25 (1)