การเสริมสร้างความมุ่งหวังในชีวิตของนักเรียนที่มีผู้อุปการะโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม

ผู้แต่ง

  • มนพัทธ์ ระหงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความมุ่งหวังในชีวิต, การให้คำปรึกษากลุ่ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความมุ่งหวังในชีวิตของนักเรียนที่มีผู้อุปการะ  2) เปรียบเทียบความมุ่งหวังในชีวิตของนักเรียน ก่อนและหลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม และเปรียบเทียบกับนักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนที่มีผู้อุปการะ จำนวน 180 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงจากนักเรียนกลุ่มแรกที่มีคะแนนความมุ่งหวังในชีวิตตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม จำนวน 14 คน แล้วสุ่มจำแนกกลุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 7 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดความมุ่งหวังในชีวิตที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .89 และโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างความมุ่งหวังในชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t แบบไม่เป็นอิสระต่อกันและแบบเป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่มีผู้อุปการะส่วนใหญ่มีคะแนนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย จำนวน 94 คน (52.22%)  รองลงมามีคะแนนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ย จำนวน 82 คน (45.56%) และมีคะแนนเท่ากับคะแนนเฉลี่ย จำนวน 4 คน (2.22%) 2) หลังการเข้าร่วมการให้คำปรึกษากลุ่ม นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การให้คำปรึกษากลุ่มช่วยเสริมสร้างความมุ่งหวังในชีวิตของนักเรียนที่มีอุปการะได้

References

พูนสุข เวชวิฐาน. (2557). ทฤษฎีครอบครัวเบื้องต้น = An introduction to family theories (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.): กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ระพีพรรณ คําหอม. (2540). สถาบันครอบครัว มุมมองของนักสวัสดิการสังคม. กรุงเทพฯ: J.PRINT

อรวรรณ หนูแก้ว. (2536). ความชุกของภาวะซึมเศร้า และความสัมพันธ์ด้านปัจจัยจิต สังคม การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเด็กวัดสระแก้วกับเด็กในครอบครัวปกติ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรัญญา ตุ้ยคำภีร์. (2536). ผลของกลุ่มจิตบำบัดแบบโลกอสต่อการเพิ่มความมุ่งหวังในชีวิต ของหญิงในสถาน สงเคราะห์หญิงบ้านเกร็ดตระการที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวี: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุ่นตา นพคุณ. (2535). รายงานผลการวิจัยการศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส : เด็กถูกทอดทิ้ง (พิมพ์ครั้งที่ 2 ed.):กรุงเทพฯ : โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรี ทรัพย์มี. (2549). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4 ed.): กรุงเทพฯ : คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรี ศุภกรบุณย์. (2546). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และโปรแกรมการเห็นคุณค่าในตนเองที่มีต่อความรู้สึกมีปมด้อยของเด็กก่อนวัยรุ่นในสถาน สงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ และ องอาจ นัยพัฒน์. (2551). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์แนวคิดพื้นฐานและวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วราภรณ์ แสงคำ. (2552). การศึกษาความว้าเหว่และการใช้โปรแกรมเพื่อลดความว้าเหว่ของเด็กในสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้าและยากจนวัดสระแก้ว จังหวัดอ่างทอง. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552.

ชูศรี เลิศรัตน์เดชากุล.(2545).หน่วยที่10 ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษาแบบภวนิยมประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการให้การปรึกษา.พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรีมหาวิทยาลัยสุทัยธรรมาธิราช

ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2554). ทฤษฎีการให้คำปรึกษา = Theories of counseling : PC 621 (พิมพ์ครั้งที่ 1 ed.): กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563).

มยุรา อุดมเลิศปรีชา. (2552). ผลการปรึกษาแบบกลุ่มตามทฤษฎีอัตถิภาวะนิยมต่อลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่4. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา), คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นาถยา คงขาว. (2559). ผลการปรึกษากลุ่มแบบอัตถิภาวะนิยมต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2554ก). แนวคิดทางการแนะแนวและทฤษฎีการปรึกษาเชิงจิตวิทยา=Concepts of guidance and theories in psychological counseling (ฉบับปรับปรุงครั้งที่1 หน่วยที่8-15 ed.): สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บัวทอง สว่างโสภากุล. (2545). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปิยะนุช เผื่อนทอง.(2560).การให้คําปรึกษากลุ่มแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างลักษณะมุ่งอนาคตของนักเรียน.ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การวิจัยและพัฒนาศักยภาพมนุษย์). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2557). การให้คำปรึกษากลุ่มเบื้องต้น เอกสารประกอบการสอนรายวิชา นน 422. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์.(2561). การให้คำปรึกษากลุ่ม (Group Counseling). กรุงเทพฯ: แดเน็ก อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

Thompson Rosemary A. (2016). Counseling techniques: Improving relationships with others, ourselves, our families, and our environment. New York: Apex CoVantage, LCC.

Corey. Gerald. (2012). Theory and Practice of Group Counseling (8th ed.). Canada: Thomson Brooks/Cole lnc.

Locke, E. A., & Latham, Gary P. (1990). A Theory of Goal Setting & Task Performance. New Jersey: Prentice Hall.

Marquis, A. H., Deburah; & Tursi, Mike. (2010). Perceptions of Counseling integration: A survey of Counselor Educators. Counselor Preparation and Supervision.

Rainey Larissa Y. (2014). The Search for Purpose in Life: An Exploration of Purpose, the Search Process, and Purpose Anxiety. (the Degree of Master of Applied Positive Psycholog), University of Pennsylvania, Philadelphia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25 — Updated on 2022-02-09

Versions