การเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยการให้คำปรึกษากลุ่ม
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษากลุ่ม, การตระหนักรู้ทางสังคม, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการให้คำปรึกษากลุ่ม 3) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกใช้ในการศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคมเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 356 คน ได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ กลุ่มที่สองใช้ในการเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม จำนวน 16 คน พิจารณาจากนักเรียนที่มีคะแนนตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และสมัครใจเข้าร่วมโปรแกรม แล้วใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดการตระหนักรู้ทางสังคม และ 2) โปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การตระหนักรู้ทางสังคมของนักเรียนโดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับสูง ยกเว้นด้านการให้ความสนใจผู้อื่นที่อยู่ในระดับปานกลาง 2) หลังการให้คำปรึกษากลุ่ม นักเรียนกลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ทางสังคมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) หลังการให้คำปรึกษากลุ่ม นักเรียนกลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ทางสังคมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
จันทนา อุดม, หะริน สัจเดย์, นงนุช ไพบูลย์รัตนานนท์, & ไพโรจน์ บุตรชีวัน. (2559). สถาบันหลักของสังคมกับการพัฒนาเยาวชน. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2), 227-237.
จันทรัสม์ คังคา. (2552). ผลการใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ต่อการตระหนักรู้ทางสังคมของนิสิตชั้นปีที่ 1 ที่พักในหอพักมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ (กศ.ม. จิตวิทยาการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2552,
พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2556). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 6, ฉบับปรับปรุง.. ed.): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2550). การศึกษาการตระหนักรู้ทางสังคม และการสร้างโมเดลการให้คำปรึกษากลุ่มเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ทางสังคมของวัยรุ่นไทย. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ด. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา)) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2550.,
พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์. (2561). การให้คำปรึกษากลุ่ม (Group Counseling). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2561). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ (รู้เรา รู้เขา) (พิมพ์ครั้งที่ 17, (ฉบับพิมพ์ซ้ำ). ed.): กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.
ศิริบูรณ์ สายโกสุม. (2555). การให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม = Group counseling : PSY 6204 (PC 623). กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
อัชรา เอิบสุขสิริ. (2561). จิตวิทยาสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 4, [ฉบับพิมพ์ซ้ำ]. ed.): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Ai Choo Ong, & Gary D. Borich. (2006). Teaching Strategies that Promote Thinking: Models and Curriculum Approaches (1 edition (August 3, 2006) ed.). Singapore: McGraw-Hill Education (Asia).
Collaborative for Academic Social and Emotional Learning. (2015). Effective Social and Emotional Learning Programs: Middle and High School Edition. Retrieved from http://secondaryguide.casel.org/casel-secondary-guide.pdf
Corey, G. (2013). Theory and practice of counseling and psychotherapy (9th ed., international ed.. ed.): Australia
Belmont, CA : Brooks/Cole / Cengage Learning.
Goleman, D. (2006). Social intelligence: The new science of human relationships. New York, US: Bantam Books.
Shaffer, D. R. (2000). Social and personality development (4th ed.). Belmont, CA, US: Wadsworth/Thomson Learning
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2021-12-25 (3)
- 2022-02-09 (2)
- 2021-12-25 (1)