ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผล การปฎิบัติงานวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อภิสิทธิ์ วงค์เมืองจันทร์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

หลักธรรมาภิบาล, ประสิทธิผล, การปฎิบัติงานวิชาการของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหาร 2) ระดับประสิทธิผลการปฎิบัติงานวิชาการของครูในโรงเรียน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฎิบัติงานวิชาการของครูในโรงเรียน 4)หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารที่สามารถทํานายประสิทธิผลการปฎิบัติงานวิชาการของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา  กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางนา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จํานวน 7 โรงเรียน จํานวน 167 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าความตรงเชิงเนื้อหา 0.67-1.00 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่ายและการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย
พบว่า การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการของครูอยู่ในระดับมาก ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการของครู โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r ระหว่าง .237–.537, p< .01) และหลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักนิติธรรมและหลักคุณธรรม สามารถทำนายประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการของครูได้ ร้อยละ 33.50 น้ำหนักการทำนายเป็น .111, .134, .200 และ .120 ตามลำดับ

 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน. (2552). คู่มือการปฏิบัติงานข้าราชการ.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขจรศักดิ์ ว่องไว, เพลินพิศ ธรรมรัตน์และระภีพรรณ ร้อยพิลา. (2562). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (Online). 1 (1), 140-147.

จิรศักดิ์ สุภารส และชิดชัย สนั่นสียง. (2560). การศึกษาการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2.วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 4 (1), 47-53.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้ง ที่ 6). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นิยม รัชตะวัฒน์วินัย. (2560). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนบริษัทเอ็น วาย ฟิล์ม จำกัด.

พิมพรรณ ภักดีอุธรณ์. (2556). ธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตํารวจสถานีตํารวจนครบาลคันนายาว. (สารนิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตคณะศิลปศาสตร์ เกริก), 74 – 90.

รัตนาภรณ์ ส่งเสริมและสุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2559). การบริหารโรงเรียนตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4.วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 16(1), 238-251

สรรชัย ชยธมฺโม,พระ. (2558). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารสถานศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 2(3), 139–146.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. กรุงเทพฯ :ไอเดีย สแควร์.

โสภา วงษ์นาคเพ็ชร์. (2554). การบริหารงานวิชาการกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 1(2), 119-126.

อัษฎางค์ ปาณิกบุตร. (2559). ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-25 — Updated on 2021-12-25

Versions