การเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่นโดยกิจกรรมแนะแนว
คำสำคัญ:
การมองโลกในแง่ดี, กิจกรรมแนะแนว, นักเรียนวัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่น และ 2) เปรียบเทียบการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่นก่อนและหลังการใช้กิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาการมองโลกในแง่ดี เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 378 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย และกลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง มีเกณฑ์การคัดเลือกโดยเลือกนักเรียนที่มีคะแนนการมองโลกในแง่ดีตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการทดลอง จากนั้นทำการสุ่มเข้ากลุ่ม ได้จำนวน ทั้งสิ้น 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่น มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 และกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดี ที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการมองโลกในแง่ดีโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสำเร็จ / การบรรลุผลสำเร็จ รองลงมา คือ ด้านอารมณ์ทางบวก ด้านความเกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ด้านการมีความหมาย : จุดมุ่งหมาย และด้านเครือข่ายความสัมพันธ์ ตามลำดับ และ 2) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวมีการมองโลกในแง่ดีสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมแนะแนวสามารถเสริมสร้างการมองโลกในแง่ดีให้กับนักเรียนวัยรุ่นได้
References
กรมสุขภาพจิต. (2544). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.
จารุวรรณ แสงด้วง. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวก ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนผดุงปัญญา จังหวัดตาก. (วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, กรุงเทพฯ.
จิตวิไล ประไมย์. (2548). การสร้างชุดการสอนกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้คิดของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสวนบัว เขตพญาไท กรุงเทพ. สารนิพนธ์ (กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
ธิดารัตน์ แย้มนิ่ม. (2558). ปัจจัยทางชีวจิตสังคมที่สัมพันธ์กับเอกลักษณ์แห่งตนของวัยรุ่นตอนปลายและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2558.
นิรันดร์ จุลทรัพย์. (2545). การแนะแนวเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 2..): สงขลา : ภารกิจเอกสารและตำรา กลุ่มงานส่งเสริมและประกันคุณภาพการศึกษา.
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุงแก้ไข).): กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี รามสูต. (2545). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน = Human behavior and self development (พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุงใหม่.): กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี.
ปิยวะดี ลีฬหะบำรุง. (2547). การพัฒนาการมองโลกในแง่ดีด้วยโปรแกรมการฝึกทักษะการคิดของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ (วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2547.
พจนพร ถนอมวุฒิศักดิ์. (2552). การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2552.
พนม ลิ้มอารีย์. (2548). การแนะแนวเบื้องต้น = Introduction to guidance (พิมพ์ครั้งที่ 2..): กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ว.วชิรเมธีภิกขุ. (2545). "เห็นสุขในทุกข์ เห็นโอกาสในวิกฤต". สืบค้นจาก http://BKKnews.com/weekend/20011105/web16.shtml
วรางคณา รัชตะวรรณ. (2554). การศึกษาและพัฒนาการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนวัยรุ่นโดยการให้คำปรึกษากลุ่ม. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ด. (จิตวิทยาการให้คำปรึกษา)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2554.
วิทยา นาควัชระ. (2543). อยู่อย่างสง่า (พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงเพิ่มเติม..): กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาตนเองและนักบริหาร.
สกล วรเจริญศรี. (2560). เทคนิคเชิงสร้างสรรค์และกิจกรรมสำหรับการให้คำปรึกษาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: โปรเท็กซ์.
สุพัฒนา ทองนุ่น. (2548). การสร้างชุดการสอนกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาและอาชีพของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. สารนิพนธ์ (กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2548.
สุมาลี พั่วชู. (2547). การศึกษาพัฒนาการความสามารถในการคิดสังเคราะห์และการมองโลกในแง่ดีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครเขต 3. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ, 2547.
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence : why it can mater more than IQ. New York: Bantam Books.
Padmakali Banerjee, S. Y. a. A. P. (2016, April). Construction of a Test on Optimism Index: Peroma Perspective. Journal of Psychology & Clinical Psychiatry, 5(6), 1-6.
Seligman, M. E. P. (2006). Learnd Optimism: How to change your mind and your life. New York: Pocket Books.