This is an outdated version published on 2022-06-20. Read the most recent version.

การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ โดการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม เรื่อง ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

DEVELOPMENT OF PROBLEM SOLVING ABILITY AND SCIENCE LEARNING ACHIEVEMENT USING SCIENCE TECHNOLOGY AND SOCIETY IN THE TOPIC OF ELECTRIC CIRCUIT FOR PRATHOM SUKSA VI STUDENTS ON DEMONSTRATION SCHOOL OF RAJABHAT RAJANAGARINDRA UNIVERSITY IN CHACHOENGSAO PROVINCE

ผู้แต่ง

  • ธนาวัฒน์ น้อยไธสง โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เเละสังคม, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ก่อนเรียนและหลังเรียน (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นการวิจัยเชิงทดลองกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ จำนวน 29 คน ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสังคม (2) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีพัฒนาการขั้นวิเคราะห์ปัญหาสูงสุด รองลงมาคือขั้นระบุปัญหา ขั้นกำหนดวิธีแก้ปัญหา และขั้นการตรวจสอบผลลัพธ์ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แนวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตและสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this study were (1) to compare the problem solving ability of Prathom Suksa VI students on Demonstration School of Rajabhat Rajanagarindra University, Chachoengsao before and after taught with Science, Technology and Society in the Topic of Life and Environment and (2) to compare science learning achievement of the samples using Science Technology and Society in the Topic of Life and Environment. The sample of this study was 29 Prathom Suksa VI students in academic year 2021 at Demonstration School of Rajabhat Rajanagarindra University in Chachoengsao Province, selected from one classroom. The sample was selected based on a cluster sampling. The research instruments comprised (1) learning management plans using Science Technology and Society in the Topic of Life and Environment, (2) Problem Solving Ability Test, the reliability of 0.82 and (3) Science Learning Achievement Test, the reliability of  0.95. Data collected were then analyzed using statistics, including frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test.

The findings of this study indicated as follows: (1) after taught with science, technology and society, the posttest score on problem solving ability of the sample was higher than pretest score with a statistical significance level of .05. In terms of individual elements of problem solving ability, an element with the highest level of development was problem analysis, followed by problem identification, solution identification, and verification and (2) after taught with science, technology and society, the posttest score on science learning achievement of the sample was higher than pretest score with a statistical significance level of .05

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (สสวท.), คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2545.

ชาตรี เกิดธรรม. (2542). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: เซ็นเตอร์ ดิสคัฟเวอรี

ซาฟีนา หลักแหล่ง. (2552). ผลของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ทัชยา อุดมรักษ์. (2557). ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(26), 139-152.

นฤมล ยุตาคม. (2542, เมษายน). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้โมเดลการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม (Science Technology and Society-STS Model). ศึกษาศาสตร์ ปริทัศน์, 14, 29-48.

ประทุม อัตชู. (2547). ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ภพ เลาหไพบูลย์. แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2542.

รพีพร โตไทยะ. (2540). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนแบบแก้ปัญหาตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สมจิต สวธนไพบูลย์. (2541). เอกสารคำสอนวิชาประชุมปฏิบัติการการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ

สำนักงานคณะกรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551,”กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552.

สุพรรณา เพ็ชรรักษา และสมเกียรติ กอบัวแก้ว. "21: Century ทักษะการเรียนรู้ในศตวรษใหม่"[ออนไลน์). 2558 แหล่งที่มา: htp:!lsupannapetraksa.blogspot.com/

สุภาวดี แก้วงาม. (2548). ความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามแนววิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดอย่างมีวิจารณญาณ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อัมพวา รักบิดา. (2549). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

Wang, C. H. (1994). Cultivating capabilities of teachers in promotion student creativity: Design STS exploratory experiment. The National Science Council, Republic of China, 8(1), 45-53.

Weir, J. J. (1974).“Problem Solving is Every body’s Problem”, The Science Teacher. 4 (April 1974), 16 – 18.

เผยแพร่แล้ว

2022-08-09 — Updated on 2022-06-20

Versions