การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้น วิชาเคมี เรื่อง โมลและสูตรเคมี สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ วงค์ใหญ่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

แบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้น, ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค, โมลและสูตรเคมี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นวิชาเคมี เรื่องโมลและสูตรเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นวิชาเคมี เรื่องโมลและสูตรเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค และ (3) สร้างคู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นวิชาเคมี เรื่องโมลและสูตรเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 29 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ –คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน จำนวน 520 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แบบทดสอบเพื่อสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เรื่องโมลและสูตรเคมี (2) แบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้น วิชาเคมี เรื่อง โมลและสูตรเคมี และ (3) คู่มือการใช้แบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นวิชาเคมี เรื่องโมลและสูตรเคมี

             ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าพารามิเตอร์ความยากของข้อสอบ (gif.latex?\betai) แบบทดสอบฉบับที่ 1 มีค่า gif.latex?\beta1 ตั้งแต่ -1.16  ถึง -0.76 และ gif.latex?\beta2 มีค่า ตั้งแต่ -0.01 ถึง 0.76 โดยมีค่า gif.latex?\beta1  < gif.latex?\beta2ทุกข้อ และ ฉบับที่ 2 มีค่า gif.latex?\beta1 ตั้งแต่ – 0.94 ถึง - 0.69 และมีค่า gif.latex?\beta2  ตั้งแต่ 0.42 ถึง 0.76 โดยมีค่า gif.latex?\beta1 < gif.latex?\beta2 ทุกข้อ 2) มีค่าพารามิเตอร์อำนาจจำแนกของข้อสอบ (gif.latex?\alphai) แบบทดสอบฉบับที่ 1 มีค่า ตั้งแต่ 1.29 ถึง 2.21 และ ฉบับที่ 2 มี ตั้งแต่ 1.44 ถึง 1.77 3) ค่าฟังก์ชันสารสนเทศของแบบทดสอบ ฉบับที่ 1 ให้ค่าฟังก์ชันสารสนเทศสูงสุดตรงกับระดับความสามารถของนักเรียน (gif.latex?\theta) ตั้งแต่ -1.6 ถึง 1.2 ตรงกับระดับความสามารถค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง และฉบับที่ 2 ให้ค่าฟังก์ชันสารสนเทศสูงสุดตรงกับระดับความสามารถของนักเรียน (gif.latex?\theta) ตั้งแต่ -1.2 ถึง 0.8 ตรงกับระดับความสามารถปานกลาง และ 4) ผลการประเมินหาประสิทธิภาพเบื้องต้นของคู่มือการใช้แบบทดสอบในภาพรวม พบว่า คู่มือการใช้แบบทดสอบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กฤษณา พันธ์สวัสดิ์. (2558). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ. (2555). วิเคราะห์ข้อสอบเลือกตอบอย่างไรสําหรับการวัดผลประเมินผลระดับชั้นเรียน. สสวท, 40(179) 11.

ธนบดี อินหาดกรวด. (2560). การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัย แบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกาย เชื้อนิจ. (2560). การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยความบกพร่องทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องปริมาณสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปวีณา มะแซ. (2560). การพัฒนาแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาค. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พัชรี เพ็งจันทร์. (2561). การประยุกต์ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเพื่อการวิจัย. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิยะดา เกษมสานต์. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยข้อบกพร่องของผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผล O-NET ด้วยแผนที่ ประเทศไทย. สืบค้น 10 มกราคม 2564 จาก https://www.niets.or.th/th

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย 15 ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. สืบค้น 10 มกราคม 2564 จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/

สุรเดช อนันตสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมี โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรษา หอมฤทธิ์. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นเพื่อศึกษาแนวคิดที่คลาดเคลื่อนและการขาดความรู้ เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสิงห์บุรี. (ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Arslan, H. O., Cigdemoglu, C., & Moseley, C. (2012). A Three-tier Diagnostic test to Assess Pre-Service Teachers' Misconceptions about Global Warming, Greenhouse Effect, Ozone Depletion, and Acid Rain. International Journal of Science and mathematical Education, 34(11), 1667-1686

Imelda S Caleon.,& Subramaniam R. (2009). Do Students Know What They Know and What They Don’t Know? Using a Four-Tier Diagnostic Test to Assess the Nature of Students’Alternative Conceptions. Res Sci Edu40(2) 314-315. http://content.ebscohost.com/pdf23_24/pdf/2010G72

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-11