ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ และการสร้างตัวแทนทางความคิด เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิตที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านน้ำเขียว จังหวัดสุรินทร์
THE EFFECTS OF USING 7E INQUIRY WITH ANALYTICAL QUESTIONS AND CREATING MENTAL REPRESENTATION IN THE TOPIC OF LIVNG ORGANISMS ON LEARNING ACHIEVEMENT AND SCIENTIFIC EXPLANATION ABILITY OF GRADE 7 STUDENTS AT BAN NAM KHIAO SCHOOL IN SURIN PROVINCE
คำสำคัญ:
สืบเสาะ 7 ขั้น, คำถามเชิงวิเคราะห์, ตัวแทนทางความคิด, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์และการสร้างตัวแทนทางความคิด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนบ้านน้ำเขียวจังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 18 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์และการสร้างตัวแทนทางความคิด 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบเครื่องหมาย ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์และการสร้างตัวแทนทางความคิด สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง หน่วยของสิ่งมีชีวิต ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research objectives were to 1) compare the pre and post learning achievement of grade 7 students in the topic of living organisms by using 7E inquiry with analytical questions and creating mental representation, 2) compare the learning achievement of the students in the topic of living organisms by using the instruction with 75% criterion, and 3) compare pre and post scientific explanation ability of the students using the instruction. The sample of this research was 18 grade 7 students at Ban Nam Khiao school in Surin province in the first semester in 2020 academic year, obtained from purposive sampling. The research instruments were 1) 7E inquiry with analytical questions and creating mental representation instruction plans, 2) a learning achievement test, and 3) a scientific explanation ability assessment form. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and sign test. The research results showed that 1) the post learning achievement of grade 7 students in the topic of living organisms by using 7E inquiry with analytical questions and creating mental representation was significantly higher than that of before at .05 level of statistical significance, 2) the learning achievement of the students in the topic of living organisms by using the instruction was significantly higher than the 75% criterion at .05 level of statistical significance, and 3) the post scientific explanation ability of the students using the instruction was significantly higher than that of before at .05 level of statistical significance.
References
กิ่งฟ้า สินธุวงษ์ และ สุจินต์ วิศวธีรานนท์. (2560). พื้นฐานทางจิตวิทยาของการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางวิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุงครั้งที่1) หน่วยที่ 6, หน้า 1-140.นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์หมาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชนิกา สูงสันเขต. (2560). ความเข้าใจมโนมติทางวิทยาศาสตร์ และวิธีทางมโนมติทางวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบประสาทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับวิธีการนำเสนอตัวแทนความคิดที่หลากหลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพิ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น
นวลจิตร เชาวกีรติพงศ์. (2562) การส่งเสริมความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 12(1), 40-50.
รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET. (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET. สืบค้นจาก www.niets.or.th
โรงเรียนบ้านน้ำเขียว (น้ำเขียววิทยาคม). (2562). สรุปผลการประเมินด้วยข้อสอบมาตรฐานในการสอบปลายปีการศึกษา 2562. สุรินทร์: ปี 2562
โรงเรียนบ้านน้ำเขียว (น้ำเขียววิทยาคม). (2562). สรุปผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปลายปีการศึกษา 2562. สุรินทร์: ปี 2562
โรงเรียนบ้านน้ำเขียว (น้ำเขียววิทยาคม). (2562). รายงานผลพัฒนาคุณภาพผู้เรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านน้ำเขียว ปีการศึกษา 2562. สุรินทร์: ปี2562
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). การพัฒนาการเรียนการสอนภาควิชาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: ภาค
ศศิกานต์ นิ่มดำ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับเทคนิคการเขียนทางวิทยาศาสตร์ (SWH) เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
ศศิวิมล สนิทบุญ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ที่มีต่อ มโนทัศน์และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์อะตอม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562) แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพ: ฝ่ายยุทธศาสตร์แผนและการประกันคุณภาพ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562) แถลงข่าวการประเมิน PISA 2018. สืบค้นจาก https://pisathailand.ipst.ac.th/news-12/
สุทธิดา จำรัส. (2560). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ 1. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะวิทยวิธี และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์. (หน่วยที่ 8). (พิมพ์ครั้งที่ 5). หน้า 8-13-14.นนทบุรี: สาขาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ส่องแสง อาราษฎร์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทนิคเคดับเบิลยูแอล เรื่องสารในชีวิตประจำวัน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (พิมพ์ครั้งที่3 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
อรยา แจ่มใจ. (2557). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีโต้แย้ง.(วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Diver, R., Asoko, H., Leach, J., Mortimer, E, & Scott, P. (1994). Constructing scientific knowledge in the classroom. Education Researcher, 23 (7), 5-12.
McNeill, K.L., & Krajcik, J.S. (2006). Supporting Students, Construction of Scientific Explanation through Generic versus Context_Specific Written Scaffdds. Paper presented at the annual meeting of the American Educational Research Association, San Francisco, April 5, 2006.
McNeill, K.L., & Krajcik, J.S. (2008) Inquiry and Scientific Explanation: Helping Students Use Evidence and Reasoning (Online). www.nsta.org/permissions,August 6, 2010.
Teller, P. (2006). Representation in science. Retrieved June 28, 2012, from http://maleficent. uucdavis.edu:8080/paul/manuscripts-and-talks/ris%20final/view
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-06-23 (2)
- 2022-06-22 (1)