การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง : กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
คำสำคัญ:
วินัยนักเรียน , ความรับผิดชอบ, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, อนุบาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัญหาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบของโรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา (2) เสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และ (3) ศึกษาผลการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ คือ การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษาในการวิจัยคือ โรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา โดยกลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลอัจฉรา ที่มีปัญหาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ จำนวน 20 คน และผู้ร่วมวิจัย คือผู้ปกครองของนักเรียนทั้ง 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยกิจกรรมการเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ แนวคำถามการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม แบบบันทึกการสังเกต และแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาด้วยวิธีวิเคราะห์แบบอุปนัย โดยตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอโดยการพรรณนาประกอบความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหาวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบ คือ (1.1) แต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อย คิดเป็นร้อยละ 50 (1.2) ไม่แสดงความเคารพต่อผู้มีอาวุโสมากกว่า และไม่แสดงท่าทีตอบรับต่อการแสดงความเคารพของที่ผู้อาวุโสน้อยกว่า คิดเป็นร้อยละ 55 (1.3) ไม่ทำตามหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบในการดูแลความสะอาดทั้งบริเวณโรงเรียนและบริเวณบ้าน คิดเป็นร้อยละ 65 (2) ดำเนินการเสริมสร้างวินัยนักเรียนโดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านกิจกรรม 5 กิจกรรม คือ กิจกรรมอบรมวินัยหน้าเสาธง กิจกรรมสัญญาใจ กิจกรรมน้องเคารพพี่-พี่เคารพครู กิจกรรมลงพื้นที่พัฒนา และกิจกรรมเยี่ยมบ้าน (3) ผลการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง พบว่า (3.1) นักเรียนมีการแต่งการเรียบร้อยถูกระเบียบมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100 (3.2) แสดงความเคารพต่อมีผู้อาวุโสมากกว่ามากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90 และแสดงท่าทีตอบรับต่อการแสดงความเคารพของผู้อาวุโสน้อยกว่ามากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 85 (3.3) แสดงความเคารพต่อผู้ปกครองก่อนไปโรงเรียนและหลังจากกลับมาจากโรงเรียนมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100 (3.4) มีความรับผิดชอบในการทำความสะอาดบริเวณบ้านที่ตนเองได้รับมอบหมายมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90 (3.5)มีความรับผิดชอบการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 85 และพบผลสืบเนื่องจากการเสริมสร้างวินัยนักเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 ประการ คือ นักเรียนมีจิตอาสามากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 85
References
สุวัช พานิชวงษ์. 2546. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนในเขต อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
โกษีย์ วงศ์สุธา. 2546. การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างวินัยในตนเองของนักเรียนโรงเรียนบ้านโพธิ์สง่า อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พัฒนาวดี อนุสรณ์เทวินทร์. 2544. การใช้กลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนลุมพุก (วันครู2503) อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร. การศึกษามหาบัณฑิต สาขา จิตวิทยาการให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ลำไย สีหามาตย์. 2546. ความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูกับความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีผู้ปกครองคนเดียว. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สันติ นิลหมื่นไวย์. 2546. การพัฒนาการปฏิบัติงานส่งเสริมให้นักเรียนมีวินัย โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พระศราวุธ เร่งกำเนิด 2552. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาของผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนเปรมฤดี จังหวัดเพชรบุรี. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นันท์มนัส รอดทัศนา .2554. การจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาความมีวินัยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบอน. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สมบัติ สังวาลสวย. 2550. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี โรงเรียนธัญรัตน์ จังหวัดปทุมธานี. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วิวรรณ สารกิจปรีชา 2554. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ปกครองกับ พฤติกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ เขตคลองเตยกรุงเทพมหานคร. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จันทร์ดี ถนอมคล้าย. 2539. การพัฒนาวินัยในตนเองด้านความอดทนของเด็กก่อนประถมศึกษาที่มีสติปัญญา แตกต่างกันด้วยวิธีการเล่านิทานประกอบหุ่นมือโดยมีการใช้คำถามก่อน ระหว่างและหลังเล่านิทาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ).
จันทรา พวงยอด. (2543). การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพุทธจักรวิทยา โดยใช้กิจกรรมและเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ชาญชัย อินทรประวัติ. (2535). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกฝังจริยธรรมของนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.สงขลา : ภาควิชาหลักสูตรการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา.
ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2518). เอกสารประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วรวุฒิการพิมพ์.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2539). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมการวิจัยและการพัฒนาจริยศึกษาในสถานศึกษาสังกัด กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
ดวงหทัย แสงวิริยะ. (2544). ผลการใชแผนการสอนแบบ 4 MAT ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความรับผิดชอบและเจตคติต่อการเรียนในหนวยการเรียนเรื่องประชากรศึกษาและการทํามาหากินระดับชั้น ประถมศึกษาปที่ 5. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
บัณฑร อ่อนดำ และวิริยา น้อยวงศ์ นยางค์. (2533). ยุทธศาตร์ในการพัฒนาชนบท : ประสบการณ์ของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประดินันท์ อุปรมัย (2529) “ภาษาไทยระดับประถมศึกษา” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะ1 (ภาษาไทย) หน่วยที่ 1 หน้า 1 – 43. นนทบุรี. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประนอม เดชชัย. (2521). แนวคิดใหมในการสอนสังคมศึกษา. คณะศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระเทพเวที (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2536). พุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์.กรุงเทพฯ :สหธรรมมิก.
พิไลลักษณ์ ทองรอด. (2547). การศึกษาความสัมพัน์ระหว่างปัจจัยบางประการกับคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา เอกชน กรุงเทพฯ.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การวิจัยและสถิติทางการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ และคณะ. (2522). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร : ชัยศิริการพิมพ์.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2529). ทฤษฎีและปฏิบัติการทางจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร : อักษรบัณฑิต.
สมพร สุทัศนีย์. (2544). จิตวิทยาการปกครองชั้นเรียน. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
สุชา จันทร์เอม และสุรางค์ จันทร์เอม. (2525). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
สุวารินทร์ โรจน์ขจรนภาลัย. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนสารสาส์นพิทยา กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(จิตวิทยาการศึกษา) กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อมรา เล็กเริงสินธุ์. (2542). คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
Bollinger, Lee Stephen. “The Effects of a Mandatory School Uniform Policy on School Climate and Student Discipline in an Urban Middle School,”
Dissertation Abstracts International. 63(2) : 2052-A ; December, 2002.
Gallagher, Sherri Lynn. “The Relationship Between Acculturation and Discipline Style on Mexican American Chidren’s Empathy,” Dissertation Abstracts International. 65(7) : 3744-B ; January, 2005.
Garner, Kim Nonique. “Examining The Roles of Middle School Personnel in theConstruction of Effective Discipline Management (Texas),” Dissertation Abstracts International. 64(7) : 4427-A ; June, 2004.
Hoban, Anne Elizabeth. “The Effect of Proposal Skills Training on Students with Discipline Problems,” Masters Abstracts International. 36(01) : 19 ; February,1998.
Kemmis, s. (1988). Action research. In keeves, J.P. (ed.). Educational research,methodology and measurement : An international handbook. Oxford Pergamon Press.