ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับการปฏิบัติงานวิชาการของครูผู้สอน ในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2

THE RELATIONSHIP BETWEEN SCHOOL DIRECTORS AND ADMINISTRATORS' TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP AND TEACHERS' ACADEMIC PERFORMANCEIN BENJASIRI ZONE, THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 2

ผู้แต่ง

  • พนิดา คุณพล วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา, การปฏิบัติงานวิชาการของครูผู้สอน

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานวิชาการของครูผู้สอน ในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ครูผู้สอน ในสหวิทยาเขตเบญจสิริ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์ และ การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานวิชาการของครูในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการกระตุ้นทางปัญญามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ตามลำดับ 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับกับการปฏิบัติงานวิชาการของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ร่วมกันอธิบายความผันแปรของการปฏิบัติงานวิชาการของครูในสถานศึกษา โดยภาพรวม ได้ร้อยละ 27.4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

The objectives of this research article were to study as follows: 1) school administrators' transformational leadership, 2) the effectiveness of teacher performance and 3) the relationship between school administrators' transformational leadership and teachers' academic performance in Benjasiri Zone, the Secondary Educational Service Area Office 2 by using survey research. The sample group of this research comprised of 260 teachers in Benjasiri Zone, the Secondary Educational Service Area Office 2, in the Academic Year 2020. A constructed 5-level rating scale questionnaire was used as a tool to collect data. The statistics for data analysis were frequency, mean, percentage, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient and multiple regression. The research revealed that 1) The school administrator’s transformational leadership and teachers' academic performance was overall rated at a high level. Ranking in the order of mean, intellectual stimulation was found to have the highest mean, followed by idealized influence, inspiration and individualized consideration respectively. 2) the effectiveness of teacher performance was overall rated at a high level. The learning process development ranked first in the order of mean followed by research for educational quality development and educational technology and innovation development respectively. 3) The relationship between school administrators' transformational leadership and teachers' academic performance was overall positively correlated at a medium with a statistical significance at the level of 0.01. and 4) school administrators' transformational leadership describing the variability of teachers' academic performance was overall positively correlated at 27.4 with a statistical significance at the level of 0.01.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

โชคชัย ขุนศรี. (2554). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนมเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 1(1). 71-77.

ทิพวัลย์ ชาลีเครือ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด ระยอง. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด.

นาตยา ทับยาง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการปฏิบัติงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 3(2). 44-63.

นิภาพร นนธิสอน และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผล การปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา อำเภอลำลูกกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 4 ปทมุธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 7(3). 71-84.

ภคมน ทิฆัมพรบรรเจิด. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทกี่ารศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 1(2). 18-36.

สินีนาฏ โพธิจิญญาโน. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการความรู้ของครูในเครือข่ายโรงเรียนที่ 22 สํานักงานเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ใน สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธิกุล แก้วโภคา. (2564). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(5). 42-56.

สำนักงานงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

เสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล. (2548). ภาวะผ้นําปริวรรต : ตัวจักรสําคัญสําหรับผู้บริหารในยุคปฏิรูป การศึกษา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Transformational Leadership Development: Manual for the Multifactor Leadership Questionnaire. Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V., and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-22