พลเมืองดิจิตอลในเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • วันศิริ นิลสุขขา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม))
  • สุภาวดี โสภาวัจน์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม)

คำสำคัญ:

พลเมืองดิจิตอล, ดิจิตอล, ปฐมวัย

บทคัดย่อ

เด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วในยุคแห่งการศึกษาที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่หยุดนิ่ง มีรูปแบบการเรียนรู้หลากหลายช่องทาง เด็กวัยนี้จำเป็นต้องมีทักษะชีวิต เพื่อสร้างโอกาสในการเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการรู้เท่าทันสื่อดิจิตอล เนื่องจากปัจจัยและความเสี่ยงในยุคดิจิตอลที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย รวมถึงการสร้างโอกาสให้แก่เด็กปฐมวัยสู่การเป็นพลเมืองในยุคดิจิตอลโดยมีครูและผู้ปกครองเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพ ผ่านบทบาทการเป็นตัวอย่างที่ดี มีความสามารถในการคัดกลองสื่อที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการประสานความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมของเด็กปฐมวัย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับตัวเด็ก จึงได้มีการพัฒนาสื่อดิจิตอล เทคโนโลยี เข้ามาปรับใช้ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยซึ่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในชีวิตประจำวันของเด็ก หรืออาจกลายเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตของผู้ใหญ่และเด็ก หากเด็กไม่ได้รับการดูแลในการใช้สื่อผลกระทบที่ตามมาคือ เด็กจะเสพสื่อที่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะพฤติกรรมทางเพศ ความรุนแรง การลอกเลียนแบบและการบริโภคนิยม

 

References

กุลชาติ พันธุวรกุล, เมษา นวลศรี. 2562. เด็กปฐมวัยกับการเป็นพลเมืองดิจิตอล : โอกาสหรือความเสี่ยง. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. 17(2) : 1-23.

ชนพรรณ จารเสถียร. 2560. การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็กปฐมวัย. สมาคมอนุบาลแห่งประเทศไทย.

ปณิตา วรรณพิรุณ, นำโชค วัฒนานัณ. 2560.บทความวิชาการเรื่อง ความฉลาดทางดิจิตอล. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา 29 (102) : 12-20.

ประยุทธ์ จันทร์โอชา. 2560. คำขวัญวันเด็ก "รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี". (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 10 เมษายน 2563, จาก : https://www.dailynews.co.th/politics/617427.

พัชรี บอนคำ. 2561. เด็กยุคใหม่รู้เท่าทัน "สื่อดิจิตอล". ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/40229.

พนิดา ชาตยาภา. 2559. บทความวิชาการเรื่อง เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 6 (2) : 151-162.

วรลักษณ์ สงวนแก้ว. 2559. Digital Citizens: พลเมืองดิจิทัล. ค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2563. จาก : https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-59(500)/page2-1-59(500).html.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. 2561.คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: ดิวันโอวัน เปอร์เซนต์.

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).2563. การใช้สื่อเทคโนโลยีสำหรับเด็ก

ปฐมวัย. (ออนไลน์). ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563, จาก : http://www.qlf.or.th.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. 2561. เท่าทันสื่อ: อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน สื่อเด็กและเยาวชน.

DQ Institute. 2017. Digital intelligence (DQ) A conceptual framework & methodology for teaching and measuring digital citizenship. Singapore: DQ Institute.

Pellissier Hank. 2018. Your child’s brain on technology: social media. (Online). Available: https://www.greatschools.org/gk/articles/child-brain-development-and-social-media/.

Rogow, F. 2002. ABCs of media literacy: What can pre-schooolers learn?. Retrieved from www.medialit.org/reading-room/abcs-media-literacy- what-can-pre-schooolers-learn

ศึกษาศาสตร์ มมร

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20