การเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยกิจกรรมแนะแนว

ENHANCING HIGH SCHOOL STUDENTS SOCIAL INTELLIGENCE USING OF GUIDANCE ACTIVITIES

ผู้แต่ง

  • พิชญาพร สมจันทร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ครรชิต แสนอุบล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางสังคม, กิจกรรมแนะแนว, นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 (2) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว และ (3) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาความฉลาดทางสังคมเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 จำนวน 302 คน ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564 ห้องที่มีคะแนนความฉลาดทางสังคมเฉลี่ยต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 40 คน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความฉลาดสังคม และแบบวัดความฉลาดสังคม ที่มีค่าความเชื่อมั่นฉบับเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t กลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกันและเป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความฉลาดทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง (2) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The purposes of this research are as follows: (1) to study the level of social intelligence of 4th Mathayomsuksa students; (2) to compare the social intelligence of the experimental group students before and after participating in guidance activities; and (3) To compare the social intelligence of the students after participating in guidance activities among the experimental and control groups. The sample group used in the study of social intelligence was randomized 302 students studying in 4th Mathayomsuksa, Triam Udom Suksa School, Academic Year 2021. The sample group used to enhance social intelligence were students studying in 2 classrooms 4th Mathayomsuksa, Triam Udom Suksa School, Academic Year 2021, with average social intelligence score lower than 25th percentile. The research instruments were program of guidance activities to enhance social intelligence of 4th MathayomSuksa students and the Social questionnaires with a reliability of 0.94. The data were analyzed by mean, standard deviation and a t-test. The research results were as follows: (1) the overall social intelligence of 4th Mathayomsuksa students was at a moderate level. (2) After participating in the guidance activity, the students in the experimental group had statistically significant higher score than before the experiment at the .05 level and (3) after participating in the guidance activities, the experimental group students had statistically significantly higher scores than the control group at the .05 level.

References

กาญจน์กมล สุวิทยารัตน (2557). การศึกษาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคใต้. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

กาญจน์กมล สุวิทยารัตน์. (2556). การศึกษาและพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต8, สาขาจิตวิทยาการให้คําปรึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฏฐวีร์ นงนุช. (2552). ผลของกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดุษฎี เล็บขาว เพ็ญนภา กุลนภาดล และเพ็ญนภา เกิดพิทักษ์ (2560). การพัฒนาเชาวน์สังคมของนักเรียนวัยรุ่นโดยการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ. Journal of The Royal Thai Army Nurses.

ทิศนา แขมมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนน ลาภธนวิรุฬห์. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยวิธีการน าเสนอหน้าชั้นเรียน ในรายวิชาการขายตรงของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

ธนิตศักดิ์ ลิ้มสุวรรณทัศน์. (2560). ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยเรือนจำบางขวาง จังหวัดนนทบุรี. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 128 – 138.

ธรรมรงค์ ใจสมคม. (2563). เทคนิคการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน. สืบค้นจาก https://zhort.link/nfh

พงศักดิ์ น้อยพยัคฆ์ (2559). ความฉลาดทางสังคม กุญแจสร้างเด็กไทยยุคใหม่. Retrieved from https://www.thairath.co.th/content/593148

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2561). จิตวิทยาพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 1): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา Research methods in education. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning). สืบค้นจาก http://ph.kku.ac.th/ thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf

มิเรียม ซุ้นสุวรรณ์. (2554). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตด้านสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์บางกรวย จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนว สาขาวิชาศึกษาศาสตร์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

เยาวรักษ์ ปวงคำคง. (2548). การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชาวเขาที่อยู่ในหอพัก โรงเรียนแม่สะเรียงบริพัตรศึกษา /. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,:ม.ป.ท.

ฤทัย บุญมาเมือง. (2554) การใช้กิจกรรมแนะแนวเพื่อส่งเสริมความกล้าแสดงออกในวิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดเกตการาม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่:เชียงใหม่.

วิริยดา ผดาศรี. (2560). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักเรียนอาชีวศึกษาโดยใช้โปรแกรมฝึกทักษะชีวิต. (มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระศึกษาธิการ (2559). มาตรฐานการแนะแนว. สืบค้นจาก. http://www.mathayom9.go.th/ckeditor/userfiles/files/15052.pdf

สิรวรรณ ศรีพหล และพันทิพา อุทัยสุข. (2540) การสอนแบบโครงการ. นนทบุรี: สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุลักขณา ใจองอาจ. (2561) ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนว ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแพรกประชาสรรค์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์:กรุงเทพฯ.

Albrecht, K. (2009). Social Intelligence : The New Science of Success: Hoboken Pfeiffer.

De Bono, E. (1992). Six Thinking Hats for Schools: Resource Book 4. Melbourne, VIC: Hawker Brownlow Education.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Lyman, F. (1987). Think-Pair-Share: An Ending Teaching Technique. MAA-CIE Cooperative News, 1, 1-2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-09 — Updated on 2022-09-11

Versions