การรับรู้และทัศนคติของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษที่มีต่อ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย

A STUDY PERCEPTION AND ATTITUDE OF ENGLISH MAJOR STUDENTS TOWARD COOPERATIVE LEARNING (STAD) AT MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY

ผู้แต่ง

  • อรรชนิดา หวานคง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรับรู้, ทัศนคติ, การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD, เทคนิค STAD

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย  (3) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้และทัศนคติของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD  มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพ ชั้นปี และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนแบบแบ่งกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จำนวน 49 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นการรับรู้และทัศนคติของนักศึกษาสาขาภาษาอังกฤษที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD วิเคราะห์ผลโดยใช้ ค่าความถี่  ค่ารอยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t -test, F–test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การรับรู้ที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
  2. ทัศนคติที่มีต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
  3. นักศึกษาที่มีลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ สถานภาพ ชั้นปี และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนแบบแบ่งกลุ่มแตกต่างกัน มีการรับรู้และทัศนคติต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05                                                                     

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 13 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กาญจนา สิ่งประสงค์. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. Journal of

Modern Learning Development. 5(4), 82-91

กาญจนาพร รุจิโฉม. (2561). การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยกับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปการจัดการ. 2(3), 199-210

ชัชรีย บุนนาค. (2561). ปญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตรการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568 ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2“GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”, หน้า 235-241

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตรการสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพครั้งที่ 14.กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลรดา ก้อนคำและ ดร.สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2562). การศึกษาทักษะการพูดภาษาอังกฤษและการเห็นคุณค่า ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่เรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD. ในเอกสารการ ประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 20 (Proceedings). วันที่ 15 มีนาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, (เดือนมีนาคม) หน้า 1760-1769

นิตยา สุวรรณศรี. (2554). หลักสูตรสู่การจัดการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ปทุมมาศ ว่องอรุณชัย. (2561). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลของความสำเร็จในการเรียนการสอน: ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นวบ.จังหวัดจันทบุรี. สืบค้นจาก Veridian. E-journal, Silapakorn University. 11(2), 1631-1639 สืบค้นจาก https://he02.tci- thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/142456/105458

ปรัชญา บินหมัดหนี, โสรัตน์ อับดุลสตา, และชัรฟุดดีน หะ. (2561). ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้.วารสาร AL-NUR, 13(25), 25-37. สืบค้นจาก https://so01.tci- thaijo.org/index.php/NUR_YIU/article/view/169915/122157

ผ่องใส เพ็ชรรักษ์, อาทร จิตสุนทรชัยกุล, และสิรัตน์ แจ้งรักษ์สกุล . (2555). การศึกษาถึงการศึกษาพฤติกรรมการเรียนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจบัณฑิตย์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

พิเชษฐ์ เลิศวรรัตติกุล. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือของ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี. 1(2), 141-158

วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล

ศุภิกา นิรัตศัย. (2561). ทัศนคติและแรงจูงใจ และพฤติกรรมการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัย ราชภัฏภูเก็ต. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(2). 138-170.

สมบัติ คชสิทธิ์, จันทนี อินทรสูต, และธนกร สุวรรณพฤฒิ. (2560). การจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนยุค Thailand 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 7(2).175-186

สมพร โกมารทัต. (2562). กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารสุทธิปริทัศน์. 33(105), 187-197.

สาวิกา สวนยศ และนิธิดา อดิภัทรนันท์. (2561). การใช้การเรียนภาษาแบบร่วมมือเพื่อเพิ่มพูนความสามารถ ในการอ่านภาษาอังกฤษ และความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4), 280-293

Aisyah, S. (2020). Students’ Attitude Toward Cooperative Learning in Reading Comprehension at English Department Jambi University. S1 thesis, Universitas Jambi.

Glomo-Narzoles, D. (2015). Student Team Achievement Division (STAD): Its Effect on The Academic Performance of EFL Learners. American Research Journal of English and Literature. 1(4), 1-7

Huawri, I. F. (2021). Language Attitudes of Jordanian Students Towards English Language. Academic Journal of Interdisciplinary Studies. 10(4), 237-247

Reda, T. A. (2015). Attitude of Students towards Cooperative Learning Methods (the Case of Wolaita Sodo University Psychology Department Second Year Students). International Journal of Sciences: Basic and Applied Research (IJSBAR). 24 (2), 33-44

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20