ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาด้วยรูปปั้นแบบลอยตัวเพื่อส่งเสริมการรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
เกมการศึกษา, รูปปั้นแบบลอยตัว, รู้ค่าจำนวน, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของการรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาด้วยรูปปั้นแบบลอยตัว
กลุ่มตัวอย่าง เป็นเด็กที่ศึกษาระดับชั้นปฐมวัย เพศชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีเมืองธรรมคุณ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ ทั้งหมดจำนวน 35 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย กิจกรรมเกมการศึกษาด้วยรูปปั้นแบบลอยตัวเพื่อส่งเสริมการรู้ค่าจำนวน จำนวน 30 กิจกรรม แบบทดสอบวัดความสามารถการรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 ข้อ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองเด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 17.17 สูงกว่าก่อนการทดลองซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.97 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าเด็กปฐมวัยกลุ่มทดลองมีความสามารถการรู้ค่าจำนวนหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือเกมการศึกษาด้วยรูปปั้นแบบลอยตัวช่วยให้เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการู้ค่าจำนวนเพิ่มขึ้น
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). หลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เบรน-เบสบุ๊ค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ปี 2551-2552. กรุงเทพฯ: เพลิน สตูดิโอ.
กนกพิชญ์ ศรีสวัสดิ์. (2555). การพัฒนากิจกรรมเกมการศึกษาด้านการเรียงลำดับเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (หลักสูตรการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชลาธิป สมาหิโต. 2553. คู่มือการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มพูนศักยภาพศึกษานิเทศก์และครูปฐมวัย. มปป. : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
เซวง ซ้อนบุญ. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH-3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภเนตร ธรรมบวร. 2549. การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปณิชา มโนสิทธยากร. (2553). ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเลขาคณิต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า. 2553. ประติมากรรม. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วรรณีย์ พรมนนท์. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นการบูรณาการด้วยเกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
วรรณี วัจนสวัสดิ์. (2552). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเกมการศึกษาลอตโต. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วรรณี โสมประยูร. (2551). ความหมายและความสำคัญทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 24 มีนาคม 2556. จาก http://www.krufonclass4.blogpot.com/p/blog-page.html
ศุภางค์จิต กัลยาแก้ว. 2556. ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อการรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาปฐมวัยศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ. 2554. คู่มือการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2553. การวัดและประเมินแนวใหม่เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.
สิริมณี บรรจง. 2549. เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุชาติ เถาทอง, สังคม ทองมี, ธำรงศักดิ์ ธำรงเลิศฤทธิ์ และรอง ทองดาดาษ. 2548. ศิลปะ ทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สุณี บุญพิทักษ์. (2557). วิจัยชั้นเรียนปฐมวัย: หลักการปฏิบัติจากประสบการณ์. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
สุภาวิณี ลายบัว. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคงธัญบุรี
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542. การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
อารมณ์ สุวรรณปาล. (2551). การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 7-10. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัลชลี ไสยวรรณ. 2553. คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2553, กรกฎาคม-สิงหาคม). การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารสสวท. 38(167): 37-39.
Gatzke, M. R. 1990. Kindergarten Children’s Estimates of Numerosity. Illinois: Urbana-Champaign
Helfrich, Shannon. (2007, October). The Exercises for the Mathematics. A.M.I Primary Training Course, Third of four Terms, Nakorn Pathom, NIDTEP.
Robert, P. H. 2003. Part-Whole Number Knowledge in Preschool Children. n.p.