ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์

THE STUDY ON ACADEMIC ACHIEVEMENT THROUGH QUEST-BASED LEARNING MANAGEMENT COMBINED WITH THE USE OF ONLINE APPLICATIONS FOR STUDENTS IN MATHAYOM YEAR 1, LUANG POR PAN KHLONG DAN ANUSORN SCHOOL.

ผู้แต่ง

  • มะลิวัลย์ กลิ่นสุวรรณ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ชนาธิป พรกุล มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • อมรา เล็กเริงสินธุ์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหลวงพ่อปานคลองด่านอนุสรณ์ จำนวน 39 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้รับการสอนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ โดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 20 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 คาบ รวมเป็น 20 คาบ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยใช้วิธีแบบสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 8.21/11.67 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  กับ เกณฑ์ที่ร้อยละ 75 พบว่า หลังเรียนเท่ากับ 25.26 คิดเป็นร้อนละ 84.18 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาการศึกษาค้นคว้า 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาการศึกษาค้นคว้า 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ อยู่ในระดับมาก

The aim of this research was to study the learning achievement by using a search-based learning management system in conjunction with the use of online applications. of 39 students in Luang Por Pan Khlong Dan Anusorn School. The samples used in the research were taught through a search-based learning management combined with the use of an online application. It takes a total of 20 weeks, 1 session per week, totaling 20 sessions. This research was a simple random sampling method. The research instruments consisted of a learning management plan using an inquiry-based teaching method together with the use of an online application. and an achievement test the statistics used to analyze the data were the arithmetic mean. standard deviation and t-test.

The results of the research found that:

  1. Achievement by organizing quest-based learning together with the use of online applications of the students in Mathayom 1, it was found that after school was higher than before, equal to 8.21/11.67 with a statistical significance at the .01 level.
  2. To compare the learning achievement with the search-for-knowledge learning management with the use of online applications. Of the students in Mathayom 1 with the criteria at 75%, it was found that after school was 25.26 or 84.18 per month. The learning achievement of the learners was significantly higher than the criteria at the .01 level.
  3. Satisfaction of secondary school students 1 on the learning management of research subjects 1 By using the search-for-knowledge learning management together with the use of online applications, it was found that the learners were satisfied with the learning management of the research subjects. 1 by organizing quest-based learning together with the use of online applications at a high level

References

กนกพร สีแดง, เนตรชนก จันทร์สว่าง และสมสงวน ปัสสาโก. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขัน ร่วมกับสื่อการสอนสมัยใหม่ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เซลล์และการทำงานของเซลล์. สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชา ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กาญจนา คชนิล. (2559). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง วิชาการใช้ห้องสมุดและการสืบค้น สารสนเทศสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค. หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2560). รูปแบบการเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้ง ลำปาง.

จุไรรัตน์ จุรณทรรศน์. (2563). ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา Education Technology Center. เข้าถึงจาก (สืบค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2564)

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2557). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อับดุลเลาะ อูมาร์. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่องสมดุลเคมีที่มีต่อแบบจำลองทางความคิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี.

นภาพร เกตทอง. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบแก้ปัญหากับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะความรู้. ปริญญานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning). เข้าถึงจาก https://www.trueplookpanya.com/blog/ content/82385/-blog-teamet- (สืบค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2564)

ปวีณาวัสสา บำรุงอุดมรัชต์ และอัมพร วัจนะ. (2564). การศึกษาผลการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ร่วมกับบทเรียนออนไลน์โดยใช้ Google Sites เรื่องสมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราคำแหง.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2546). กิจกรรมทักษะกระบวนการสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ภูวดล เฉลิมพล. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนการสอน รายวิชาห้องสมุดเพื่อการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. โรงเรียนประทาย จังหวัดนครราชสีมา

มารุต พัฒนผล. (2561). เอกสารประกอบการเรียนรู้ รายวิชา การโค้ชเพื่อการรู้คิด Module 4 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มการรู้คิด. สาขาพหุวิทยาการ/สหวิทยาการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ยุทธนา อาจทวีกุล. (2563). การใช้งานโปรแกรม Google Meet ในการประชุมออนไลน์. เข้าถึงจาก http://cc.bru.ac.th/2020/05/google-meet-in-meeting-online/ (วันที่สืบค้นข้อมูล : 19 กรกฎาคม 2564)

ลักขณา สริวัฒน์. (2557). จิตวิทยาสำหรับครู. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน และอมลวรรณ วีระธรรมโม. (2549). การสอนเพื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ : เทมการพิมพ์.

ศิริภรณ์ เม่นมั่น. (2543). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตามทฤษฎีสรรคนิยมกับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาการประถมศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). การเรียนการวิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ รูปแบบ 5Es. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ไสว ฟักขาว. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เอมพันธ์.

Blogger. (2562). แอพพลิเคชั่นเพื่อการศึกษา. สืบค้นจาก

https://googleappeducation112.blogspot.com/2019/01/application.html (วันที่สืบค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2564)

Diagonal. (2560). Facebook messenger คืออะไร มาทำความรู้จักกัน. เข้าถึงจาก https://www.mdsiglobal.com/facebook-messenger/ (สืบค้นข้อมูล : 20 กรกฎาคม 2564)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-20