การบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2562 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ ภูผาอารักษ์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การบริหารหลักสูตร, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2562 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และ2) เปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2562 ตามความคิดเห็นของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน คุณวุฒิการศึกษา และสถานที่ปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร ตำแหน่งข้าราชการ พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง ในปีการศึกษา 2564  จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษพุทธศักราช 2562 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษพุทธศักราช 2562 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน คุณวุฒิการศึกษา และสถานที่ปฏิบัติงาน พบว่า ครูที่มีคุณวุฒิการศึกษา
และสถานที่ปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกนั้นไม่แตกต่าง

คำสำคัญ : การบริหารหลักสูตร, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 -2564).

ขวัญทอง โกฏิรักษ์. (2560). การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพ.

คณินญ์ศักดิ์ จันทร์ทิพย์. (2555). สภาพการบริหารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, ศรีสะเกษ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนธัช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

ประพันธ์ พุ่มจันทร์. (2549). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามวัฎจักร คุณภาพของเดมมิ่งในอำเภอท่าม่วง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประมวล ศรีขวัญใจ.(2550). การจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอพระนครศรีอยุธยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ปุณฑริก พรชนะวัฒนา. (2562). การบริหารหลักสูตรปฐมวัยของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดพะเยา. การศึกษาอิสระ คบ.,มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

พัชริน ทับทิม. (2549). ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน ต่อการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร. (2551). เติมเต็มครูปฐมวัย..ด้วยหัวใจ BBL. กรุงเทพฯ: มูลนิธิ สถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.

ศรียา นิยมธรรม. (2546). การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2563). ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2563.

สุกัญญา ประมายะยัง. (2560). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. ในรายงานการประชุม วิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560.หน้า 716-722.

เหมือนฝัน วงเดช. (2562). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารสถานศึกษา และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, ลพบุรี.

อุไรวรรณ ฉัตรสุภางค์. (2550). บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20