การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยา และเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะ, การแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านราหุล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน การดำเนินการวิจัย เป็นแบบวิจัยและการพัฒนามี 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บาร์โมเดลร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้บาร์โมเดลร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้บาร์โมเดลร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 4) การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้บาร์โมเดลร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยพิจารณาความเหมาะสมของแบบฝึกทักษะจากผู้เชี่ยวชาญ ใช้แผนการวิจัย One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 4 เรื่อง แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะหาประสิทธิภาพจากสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
- 1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มี 4 เรื่อง กระบวนการการฝึกทักษะเป็นไปตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นทำความเข้าใจโจทย์ปัญหา (2) ขั้นวางแผนโดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล (3) ขั้นแสดงวิธีทำ (4) ขั้นตรวจสอบ ผลการพิจารณาความเหมาะสม พบว่า ความเหมาะสมในองค์ประกอบต่างๆของแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับมาก และเมื่อนำไปหาประสิทธิภาพ พบว่ามีประสิทธิภาพ 45/76.83
- 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
- 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จิตติมา คงเมือง. (2553). การส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการวาดแบบจำลองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิสวลีพร อุ่นจิตต์ธรรม (2558) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/4 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีโดยใช้รูปบาร์โมเดล. ธนบุรี, โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ : แนวคิด วิธีและเทคนิคการ. สอน1.กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.
วัฒนา โยธานัน. (2557). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดลระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ การหาร และโจทย์ปัญหาปัญหาการบวก ลบ คูณ หารระคน. กรุงเทพฯ : โรงเรียนซอยแอนเนกซ์(กาญจนาภิเษก2) สำนักงานเขตสายไหม.
สุพัตรา เส็งเอี่ยม. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาและเทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล เรื่องการบวก ลบ คูณ และหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร