ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อความคิดริเริ่มและความสามารถในการชี้นำตนเองและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล ศรีบุรี สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ดวงเดือน สุวรรณจินดา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

โครงงานวิทยาศาสตร์, ความคิดริเริ่มและความสามารถในการชี้นำตนเอง, ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความคิดริเริ่มและความสามารถในการชี้นำตนเองก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพองครักษ์จังหวัดนครนายกที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้พ ชั้นปีที่ 2 ในวิทยาลัยการอาชีพองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 32 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (2) แบบวัดความคิดริเริ่มและความสามารถในการชี้นำตนเอง และ (3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเครื่องหมาย ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความคิดริเริ่มและความสามารถในการชี้นำตนเองของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพองครักษ์  จังหวัดนครนายก ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล. (2561). เครื่องมือวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพ. ในประมวลสาระชุดวิจัยหลักสูตร

และการเรียนการสอน หน่วยที่ 9, หน้าที่ 1-82 (พิมพ์ครั้งที่ 8). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

กาญจนา ฉัตรศรีตระกูล. (2544). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเค้าโครงของโครงงานภูมิปัญญาไทยการคิดแก้ปัญหา และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้แบบฝึกการทำโครงานภูมิปัญญาไทยทางวิทยาศาสตร์กับการสอนแบบสืบเสาะ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพฯ

กิติภูมิ เลิศกิตติกุลโยธิน. (2550). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

จิตติพงศ์ ปะกิระเนย์. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยชุดกิจกรรมฝึกทำโครงงานวิทยาศาสตร์กับการสอนปกติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ชุติมา วัฒนะคีรี. (2539). การสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ณภัทร เมณฑกานุวงษ์. (2547). ผลการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ธนภณ ธรรมรักษ์. (2546). การพัฒนาแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับมัธยมปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ.

ธมลวรรณ ปรมาธิกุล. (2555). การเรียนภาษาอังกฤษแบบประสบการณ์เพื่อเพิ่มพูนความสามารถทางการพูดและความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเองของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ธวัชชัย อยู่พุก. (2554). การพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานวิทยาศาสตร์โรงเรียนชานุมานวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม 29. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร

ธีระชัย ปูรณโชติ. (2531). การสอนกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์:คู่มือสำหรับ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2557). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตณะและวิทยวิธีทางวิทยาศาสตร์. หน่วยที่ 9 : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี

เนาวรัตน์ รุ่งเรืองบางชัน. (2532). การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่เคยทำและไม่เคยทำโครงงานวิทยาศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5 หน้า 50-56 กรุงเทพมหานคร สุวีริยาสาส์น.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). หน่วยที่ 3 คุณภาพเครื่องมือวัด ในประมวลสาระชุดวิชากรพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา หน้า 73-74 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, นนทบุรี.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์ และนวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. (2545). หน่วยที่ 4 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ในประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา หน้า 218-255 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, นนทบุรี.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แนวคิด วิธีและเทคนิคการสอน. เล่ม 1. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนเนจเม้นท์, กรุงเทพฯ

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. ไทยวัฒนาพานิช. กรุงเทพฯ

รักชนก ถาวรพล. (2561) ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดนนทบุรี.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2544). โครงงานเพื่อการเรียนรู้: หลักการและแนวทางการจัดกิจกรรม.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วรลักษณ์ คำหว่าง. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดพิษณุโลก, วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 129-138.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิสุทธิ์ ตรีเงิน. (2550). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ด้วยโครงงานวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์: กรุงเทพฯ.

ศักดิ์เกรียงไกร ปัญญาวัตร. (2548). การใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางเพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ด้วยตนเองและเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ศิวพร ตาใจ. (2551). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, เพชรบุรี

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2533). คู่มือการทำและการแสดงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี: เอกสารสำหรับครู. กรุงเทพฯ: สสวท.

สถาปนา เกษมศิลป์. (2546). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ในวิชาเคมี เรื่อง สารและการเปลี่ยนแปลงกับการสอนตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาคุรุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

แสงเดือน เจริญฉิม. (2555). ความสามารถในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สมชัย โกมล. (2544). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดด้วยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

สดใส เตียนพลกรัง. (2548). ผลการสอน โดยใช้กิจกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานของนักรียนชั้นมันยบศึกมาปีที่ 4 โรงเรียนพญาเย็นวิทยา จังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์)มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

Boud, D. (1982). Developing Student Autonomy in Learning. New York: Nichols Puplishing Company.

Brocket, R.G., & Hiemstra, R. (1991). Self-direction in Adult Learning. New York: Chapman and Hall.

Griffin, C. (1983). Curriculum Theory in Adult Lifelong Education. London: Crom Helm.

Guglielmino, L.M. (1997). Development of the Self-directed Learning Readiness Scale. Georgia: University of Georgia (Unpublished Ed.D. Dissertation).

Hiemstra, R. (1994). Self-Directed Learning. In T. Husen & T.N. Postlthwaite (Eds.), The International Encyclopedia of Education. 2 ed. Oxford: Pergamon Press. Retrieved June 10, 2011, From:http;//home.twcny.rr.com/hiemstra/sdlhdbk.html

Knowles, M.S. (1975). Self-directed Learning: A Guide for Learner and Teacher, New York: Association Press.

Weir, J. (1974). Problem Solving is Everybody's Problem. The Science Teacher, 15(4), 16-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20