การส่งเสริมการคิดเชิงพีชคณิตตามระดับความสามารถของนักเรียนโดยใช้แนวคิด โมเดลเมธอดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคTAI สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4

ผู้แต่ง

  • ชินภพ หาแก้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อาทร นกแก้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โมเดลเมธอด, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคTAI, การคิดเชิงพีชคณิต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มี 2 วัตถุประสงค์ คือการศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การคิดเชิงพีชคณิตของนักเรียนตามระดับความสามารถชั้น ป.4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้โมเดลเมธอดร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคTAI  โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 3 วงจร ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 14 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบการคิดเชิงพีชคณิตหลัก และแผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน ตามรูปแบบสถานการณ์ปัญหาของโมเดลเมธอด โดยลำดับการจัดเรียนนรู้ตามซับซ้อนของข้อมูลจากน้อยไปมาก  ได้แก่ รูปแบบโมเดลที่แบ่งข้อมูลทั้งหมดออกเป็นส่วน, รูปแบบโมเดลที่แสดงการเปรียบเทียบ, รูปแบบโมเดลที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ตามลำดับ  ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย ใบกิจกรรมกลุ่ม แบบฝึกทักษะและแบบทดสอบการคิดเชิงพีชคณิตย่อย โดยแต่ละวงจรประกอบด้วย 4  ขั้นตอนตามการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคTAI  ได้แก่ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นร่วมกันศึกษาและทำกิจกรรมกลุ่ม ขั้นฝึกทักษะและประเมินผลรายบุคคล และขั้นสรุปบทเรียน ซึ่งแต่ละขั้นนักเรียนจะได้ฝึกการแก้ปัญหาโดยใช้แนวคิดโมเดล
เมธอดในการอธิบายข้อมูล สร้างแบบจำลองเพื่อแปลงเป็นประโยคสัญลักษณ์ เขียนคำตอบตามเงื่อนไขโดยให้ความสำคัญกับความสมเหตุสมผล ทั้งนี้ผลการวิจัยทำให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาการคิดเชิงพีชคณิตสำหรับนักเรียนตามระดับความสามารถ โดยวิเคราะห์จากการสะท้อนผลการเรียนรู้จากการปฏิบัติทุกวงจรที่พิจารณาสังเคราะห์เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดี อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข และยังพบว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการจัดการเรียนรู้สูงกว่าหลังการจัดการเรียนรู้ จากการนำผลการทดสอบการคิดเชิงพีชคณิตย่อยและผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้มาพิจารณาว่าโดยวิเคราะห์จากค่าการคำนวนทางสถิติ

 

 

References

จิระประภา คำภาเกะ. (2021). THE DEVELOPMENT OF PROBLEM SOLVING SKILL IN MATHEMATICS ON PRISM AND CYLINDER USING THINK-PAIR-SHARE WITH MATHEMATICS GAME OF MATHAYOMSUKSA 2 STUDENTS. Silpakorn University,

ชนกนันท์ จันทร์ อร่าม. (2019). การพัฒนา กิจกรรมการ เรียนรู้ โดยวิธี การแบบเปิดเพื่อ ส่งเสริมความ สามารถในการ ให้เหตุผลทาง คณิตศาสตร์ สำหรับ นักเรียน ชั้น มัธยมศึกษา ปี ที่ 2. Journal of Faculty of Education Pibulsongkram Rajabhat University, 6(1), 118-133.

ฒิชากร ปริญญากาญจน์. (2020). การ พัฒนา ชุด กิจกรรม การ เรียน รู้ ร่วม กับ การ จัดการ เรียน รู้ แบบ ร่วมมือ ด้วย เทคนิค TAI เพื่อ พัฒนา ผล การ เรียน รู้ เรื่อง การ บวก และ การ ลบ เลข ของ นักเรียน ชั้น ประถม ศึกษา ปี ที่ 2. วารสาร ศึกษา ศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 17(2), 115-128.

เต็มดวง ปาก วิเศษ, ภูษิตบุญ ทอง เถิง, & ธัญญลักษณ์ เขจรภักดิ์. (2019). การ พัฒนา กิจกรรม การ เรียน รู้ คณิตศาสตร์ แบบ ร่วมมือ เทคนิค TAI ร่วม กับ ชุด การ เรียน เรื่อง ความ น่า จะ เป็น กลุ่ม สาระ การ เรียน รู้ คณิตศาสตร์ ชั้น มัธยมศึกษา ปี ที่ 5. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 13(1), 119-127.

ทิศนา แขมมณี. (2545). รูปแบบการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาตยา ปิลันธนานนท์. (2543). การเรียนแบบร่วมมือ. บริษัท จูนพับลิซซิ่ง จํากัด.

ปรวี อ่อนสะอาด. (2014). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ ความสามารถ ในการสื่อสาร ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัด ของนักเรียน ชั้น มัธยมศึกษา ปี ที่ 2 หลังการ จัดการเรียน การสอนแบบ กลุ่มช่ว ราย บุคคล(TAI) กับ การสอนตาม ปกติ.

ปริฉัตร์ จันทร์หอม. (2555). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดแบบฮิวริสติกส์และโมเดลเมธอดที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงพีชคณิตและความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย., กรุงเทพมหานคร.

พีรดา วิชามุข. ( 2562). การศึกษาผลสมัฤทธิ์เรื่องการแก้โจทย์ปัญหาอัตราสว่ นและร้อยละด้วยวิธีการสอนปกตคิวบคู่กับวิธีบาร์โมเดลสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, ปีที่ 18 ฉบับ 2 เดือน พ.ค. -ส.ค. 62.

วันวิสา พุทจิระ. (2016). การ จัดการ เรียน รู้ ตาม แนวคิด Model Method เพื่อ พัฒนาการ คิด เชิง พีชคณิต ของ นักเรียน ชั้น ประถม ศึกษา ปี ที่ 5. มหาวิทยาลัย ศิลปากร,

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). วิธีสอนทั่วไป (Method of Teaching) (พิมพ์ครั้งที่2). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ 2551(ฉบับปรับปรุง2560). กรุงเทพฯ: สสวท.

อรวรรณ อยู่แท้กูล. (2021). ผลการจัดการเรียนรู้เรื่อง โจทย์ ปัญหาระคนโดย ใช้การเรียนรู้ เทคนิคการจัด กลุ่มแบบ าย บุคคลร่วมกับ กระบวนการแก้ ปัญหาของโพลยาที่มีต่อผล สัมฤทธิ์ทางการ เรียน และความ สามารถในการ คิดแก้ปัญหาของ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3. มนุษย สังคม สาร (ม ส ส.) คณะ มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏ บุรีรัมย์, 19(1), 97-116.

Booker, George, & Windsor, Will. (2010). Developing algebraic thinking: Using problem-solving to build from number and geometry in the primary school to the ideas that underpin algebra in high school and beyond. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 8, 411-419.

Cai, Jinfa, Ng, Swee Fong, & Moyer, John C. (2011). Developing students’ algebraic thinking in earlier grades: Lessons from China and Singapore. In Early algebraization (pp. 25-41): Springer.

Englard, Lisa. (2010). Raise the bar on problem solving. Teaching children mathematics, 17(3), 156-163.

Hasbi, M, & Putri, Febriyani. (2018). Improvement Mathematics Problem Solving Ability of the Students Taught by Using Team Assisted Individualization Cooperative Learning Model. Daya Matematis: Jurnal Inovasi Pendidikan Matematika, 6(2), 125-133.

Mahoney, Kevin T. (2012). Individual differences and emotional labor: An experiment on positive display rules. Personality and Individual Differences, 53(3), 251-256.

Mathematics, National Council of Teacher of. (2000). Understand patterns, relations, and functions. Reston: VA: Author.

Matos, Ana, & Ponte, João Pedro da. (2009). Exploring functional relationships to foster algebraic thinking in grade 8. Quaderni di Ricerca in Didattica (Matematica), 1-9.

Tinungki, Georgina Maria. (2015). The Role of Cooperative Learning Type Team Assisted Individualization to Improve the Students' Mathematics Communication Ability in the Subject of Probability Theory. Journal of Education and Practice, 6(32), 27-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20