การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษารูปแบบ ที่ ๒ เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • กัญณภัทร นิธิศวราภากุล มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา, หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษารูปแบบที่ 2 เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษารูปแบบที่ ๒ เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีให้มีประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1) ตามเกณฑ์ 75/75 2)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษารูปแบบที่ 2 เพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผา 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผา และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1-3 จากโรงเรียนปากเกร็ด ที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรมโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอาสาสมัคร (Volunteers Sampling) จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลอง 14 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบ t แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. หลักสูตรฝึกอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ โดยค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) = 79.12 และค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) = 77.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75

        2. ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมหลังจากนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์หลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัย, กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ชวลิต ชูกำแพง. (2551). การพัฒนาหลักสูตร. มหาสารคาม: ทีคิวพี จำกัด.

ชวลิต ชูกำแพง. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแนวคิดและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2544). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : พี เอ ลีฟวิ่ง.

นิคม ชมพูหลง. (2548). ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การเรียนรู้ (ฉบับปรับปรุง). มหาสารคาม : อภิชาต การพิมพ์.

ฝ่ายอุทยานการศึกษา สำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). เครื่องปั้นดินเผานนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560 จาก http://www.stou.ac.th/study/projects/training/culture/library.html

พงศ์ประเสริฐ หกสุวรรณ. (2552). เทคนิคการฝึกอบรม. ชลบุรี. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปิยภัทร พลับพลาและคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนภาษาอังกฤษแบบมุ่งเน้นประสบการณ์ทางภาษาและหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษาปีที่ 14 ฉบับที่ 64 มกราคม –มีนาคม 2560

ยงยุทธ เกษสาคร. (2544). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.

ยงยุทธ เกษสาคร. (2545). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : เอส แอนด์ จี กราฟฟิค.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและการพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนธัช การพิมพ์

ธำรง บัวศรี. (2547). ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

ธำรง บัวศรี. (2547). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

ธีระ รุญเจริญ และคณะ. (2547). ความคาดหวังของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการกำหนดให้โรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคลในการประชุมวิชาการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย สุขสิริเสรีกุล. (2548). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไทย. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: สถาบันทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาติ กิจยรรยง และอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. เทคนิคการจัดฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน), 2539.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. การสอนแบบ Research-Based Learning. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2546.

สุนีย์ ภู่พันธ์. (2546). แนวคิดพื้นฐานการสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : แสงศิลป์.

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานจังวัดนนทบุรี. (2557). ประวัติความเป็นมาจังหวัดนนทบุรี. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2560 จาก http://nonthaburi.go.th/

เสาวลักษณ์ พิศิษไพบูลย์. (14 ตุลาคม 2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์. 2559.

อาร์วายทีไนน์. (2560). ข่าวประชาสัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2560 จาก http://www.ryt9.com/s/prg/2706005

Dessler. G. (2000). Human Resource Management. 7th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Hutchison.(1996). T. and A. Waters. English for specific purposes: A learning-centered approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Jesus Garcia Laborday & Mary Frances Litzler. (2015). Current Perspectives in Teaching English for Specific Purposes. ONOMÁZEIN 31 (junio de 2015): 38-51. DOI: 10.7764/onomazein.31.1

Johns, A. M. and T. Dudley-Evans.(2000). Developments in English for specific purposes: A multi-disciplinary approach. Cambridge: Cambridge University Press.

Kennedy C. and R. Bolitho.(1984). English for specific purposes. London: MacMillan Press Ltd.

Mackay,R. and A. Mountford.(1978). English for Specific Purposes. London: Longman.

Mcdonough, C. (1984).ESP in Perspectives. London: Hazell Watren and Viney Limited.

Ornstein, A. G., & Hunkins, F.P. (2004). Curriculum foundations, principles, and issues. New York: Pearson Education.

Robinson, P.(1991). ESP Today : A Practitioner’s Guide. London: Prentice Hall International.

Smith, B., and Delahaye, B.(1998). How to be an effective trainers. New York: John Wily & Sons.

Strevens, P.(1988). ESP after twenty years: a re-appraisal. Singapore: SEAMEO Regional Language Center.

Taba, H. (1962). Curriculum development: theory and practice. New York, NY: Harcourt, Brace & World.

Taba, Ralph W. (1968). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago University of Chicago Press.

Trueloves, S. (1992). Handbook of training and development. Oxford: Blackwell.

Wills, M. (1993). Managing process: Putting the basic into practice. London: McGraw-Hill.

Wilson,Joe B.(1994). Applying successful training techniques: A practical guide to coaching and facilitating skills. London: Richard Chang Associates, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20