กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนในนวนิยายเรื่อง “ไชน่ามูน”
คำสำคัญ:
กลวิธีการนำเสนอ, ความเป็นจีน, องค์ประกอบวรรณกรรม, นวนิยายเรื่องไชน่ามูนบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนในนวนิยายเรื่อง “ไชน่ามูน” บทประพันธ์ของประภัสสร เสวิกุล โดยใช้แนวคิดด้านองค์ประกอบทางวรรณกรรมเป็นกรอบในการศึกษา ซึ่งผู้เขียนเลือกศึกษา 4 ประเด็น ได้แก่ 1) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านโครงเรื่อง พบว่า เป็นการเปิดเรื่องจากจุดที่ไม่ใช่การเริ่มต้นเรื่อง แต่เปิดเรื่องจากจุดจบหรือผลลัพธ์ของเรื่องมาเสนอก่อน ต่อจากนั้นจึงดำเนินเข้าสู่เรื่องราวเริ่มแรกของเรื่อง 2) กลวิธีการนำเสนอความจีนเป็นผ่านตัวละคร พบว่า เป็นการนำเสนอตัวละครฝ่ายชายให้มีบทบาทและความสำคัญในการดำเนินเรื่องหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ คือ ซิวหรือประธานหวู่ ตัวละครเอกชาวจีน 3) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านบทสนทนา พบว่า เป็นการนำเสนอบทสนทนาที่บอกลักษณะนิสัยของตัวละคร และบทสนทนาที่ช่วยในการดำเนินเรื่อง ทั้งบทสนทนาที่แสดงลักษณะนิสัยของตัวละครชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน รวมทั้งบทสนทนาที่แสดงถึงคติข้อคิดของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน 4) กลวิธีการนำเสนอความเป็นจีนผ่านฉาก พบว่า เป็นการนำเสนอฉากที่ใช้ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นเรื่องราวที่สมจริงตามสถานที่หรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
References
กิตติยา คุณารักษ์. (2564). พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในนวนิยายแนวสัจนิยมมหัศจรรย์ของตรี อภิรุม : ความหมายและการประกอบสร้าง. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ตรีศิลป์ บุญขจร. (2545). นวนิยายกับสังคมไทย 2475-2500. กรุงเทพฯ: คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นาคร.
ประภัสสร เสวิกุล. (2558). ไชน่ามูน. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
เพ็ญประภา เหล่าทะนนท์. (2564). ความเป็นจีนในนวนิยายและเรื่องสั้นของประภัสสร เสวิกุล. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
รื่นฤทัย สัจจะพันธุ์. (2534). ตัวละครหญิงในวรรณคดีไทยสมัยอยุธยาและสมัย รัตนโกสินทร์ ตอนต้น (พ.ศ. 1893 - 2394). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2559). ชวน “อ่าน” ชวน “คิด” พินิจวรรณกรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาพรบุคุ๊คส์.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุภางค์ จันทวานิช. (2534). ชาวจีนแต้จิ๋วในในประเทศไทยและภูมิลำเนาเดิมที่เฉาซัน สมัยที่หนึ่ง ท่าเรือจางหลิน (2310-2390). กรุงเทพฯ: สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.