การพัฒนาสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยกิจกรรมกลุ่ม

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก การิก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มณฑิรา จารุเพ็ง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พัชราภรณ์ ศรีสวัสดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สมรรถนะทางสังคม, กิจกรรมกลุ่ม, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม  กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 เป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 6 โรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตลาดพร้าว จำนวน 350 คน และกลุ่มที่ 2 เป็นนักเรียนที่เลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มที่ 1 ที่มีคะแนนสมรรถนะทางสังคมตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 25 ลงมา และมี  ความสมัครใจเข้าร่วม จำนวน 12 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดสมรรถนะทางสังคมของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 และโปรแกรมการใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า 1) สมรรถนะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีสมรรถนะทางสังคมสูงขึ้นหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กาญจนา ไชยพันธุ์. (2549). กระบวนการกลุ่ม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

คมเพชร ฉัตรรศุภกุล. (2546). กิจกรรมกลุ่มในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: แสงรุ้ง การพิมพ์.

จิรากานต์ อ่อนซาผิว และสุชาดา นันนทะไชย. (2564). ปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โรงเรียนวัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6 (4).

ชลิดา ชวนานนท์. (2552). ผลของกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (กศ.ม.). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

ณัฐชญา บุปผาชาติ. (2561). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. (ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ทรูปลูกปัญญา. (2562). เทคนิคการสอนแบบการแสดงบทบาทสมมติ (Role playing). Retrieved from https://www.trueplookpanya.com/blog/content/76456/-blog-teamet-

ทัศนีย์ วงศ์ศรี. (2556). การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความพอเพียงของนักเรียน โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ สมุทรปราการ. สารนิพนธ์ (กศ.ม. (จิตวิทยาการแนะแนว)) -- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2556., Retrieved from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Gui_Cou_Psy/Tassanee_W.pdf

ทิศนา แขมมณี. (2560). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 13, [ฉบับพิมพ์ซ้ำ]. ed.): กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญาภรณ์ อุปมัยรัตน์. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อทัศนคติการใช้ความรุนแรงและพฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต))). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลานครินทร์.

เบญจพร เหลื่อมศรี. (2563). พฤติกรรมการส่งเสริมทักษะทางสังคมของนักเรียน ในพื้นที่เขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณนภา บุญลาโภ. (2556). การศึกษาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีภาวะออทิสซึมจากการสอนโดยใช้วิดีทัศน์แสดงต้นแบบพฤติกรรม (Video Modeling) ร่วมกับสถานการณ์จำลอง. ปริญญานิพนธ์ (กศ.ม. (การศึกษาพิเศษ)) – มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 2556., Retrieved from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Wannapa_B.pdf

ศรัณยา โฆสิตมงคล. (2556). Clinical Teaching: Small Group Discussion (การสอนแบบกลุ่มย่อย). Retrieved from https://ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km/56/km_group_discussion.html

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด กอมณี. (2560). การพัฒนากระบวนการตัดสินใจเลือกแผนการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้กิจกรรมแนะแนว. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ ปีที่ 18, ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), หน้า 258-280. Retrieved from http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/9865/8405

สำนักงานเขตลาดพร้าว. (2564). ข้อมูลพื้นฐานการจัดการศึกษาปีการศึกษา 2564. Retrieved from https://webportal.bangkok.go.th/latphrao/info/maps/student

อัจฉรีย์ ไกรกิจราษฎร์. (2561). การพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. Journal of Education Naresuan University, 23 (2).

Elias, M., & Haynes, N. (2008). Social Competence, Social Support, and Academic Achievement in Minority, Low-Income, Urban Elementary School Children. School Psychology Quarterly, 474-495. doi:10.1037/1045-3830.23.4.474

Kagan, J. (2001). Temperamental contributions to affective and behavioral profiles in childhood. In From social anxiety to social phobia: Multiple perspectives. (pp. 216-234). Needham Heights, MA, US: Allyn & Bacon.

Williamson, G. G. D. W. J. (2002). Promoting social competence. San Antonio, TX: Therapy Skill Builders.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20