การศึกษาความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
คำสำคัญ:
ความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษา, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จำแนกตาม เพศ อายุ ปีการศึกษาที่เข้า เกรดเฉลี่ย 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 - 2561 รวมจำนวนเท่ากับ 225 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที t-test F-Test (ANOVA) และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72
- เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ ปีการศึกษาที่เข้า เกรดเฉลี่ย พบว่าเพศ อายุ ปีการศึกษาที่เข้า เกรดเฉลี่ย มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
- องค์ประกอบของความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่าโมเดลความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
- เสนอแนะแนวทางส่งเสริมความภักดีของผู้สำเร็จการศึกษา พบว่า ในด้านพฤติกรรมด้านความยินดีชื่นชม พบว่าคณาจารย์ทุกท่านทุ่มเทในการสอนอย่างเต็มที่และเนื้อหาความรู้สามารถนำไปใช้ได้จริงในการปฏิบัติการสอน ควรส่งเสริมให้คณาจารย์พัฒนาเทคนิคการสอนใหม่ๆ อยู่เสมอ พฤติกรรมในด้านความรักควรปลูกฝังเรื่องความรักสามัคคี การอยู่ร่วมกันให้มากพอกับรักมหาวิทยาลัย และพฤติกรรมด้านความเชื่อมั่นในชื่อเสียง พบว่า การเรียนในหลักสูตรให้ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการทำงานและการสร้างความมั่นคงทางวิชาชีพในอนาคต ช่วยปูพื้นความรู้สู่การสอบบรรจุรับราชการได้เป็นอย่างดี ในด้านเจตคติ พบว่าเจตคติด้านการปกป้องชื่อเสียงขอให้มหาวิทยาลัยปรับปรุง พัฒนา และรักษาคุณภาพของหลักสูตรให้ดีและตอบโจทย์การประกอบวิชาชีพครูทั้งในปัจจุบันและอนาคต เจตคติด้านความรู้สึกภาคภูมิใจ พบว่าผู้สำเร็จการศึกษามีความภูมิใจในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาก เจตคติด้านความผูกพัน พบว่าผู้สำเร็จการศึกษา มีความภาคภูมิใจที่ได้เป็นศิษย์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และยินดีที่จะสนับสนุนกิจกรรมของทางมหาวิทยาลัย
References
ณักษ์ กุลิสร์. (2557). ความภักดีของนิสิตปริญญาโทหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล อินทะโส. (2554). การรับรู้ต่อคุณภาพการบริการในโครงการพิเศษหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและความภักดีของนักศึกษาต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. สารนิพนธ์ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปณิศา มีจินดา. (2553). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ศิริพร เสริตานนท์. (2551). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจเจตจำนงคงอยู่และความภักดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ดุษฎีนิพนธ์ (การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.
ศรีสกุล งามบุญแถม. (2561). อิทธิพลของคุณภาพความสัมพันธ์ ภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยและคุณภาพบริการที่มีผลต่อความภักดีของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวิมล ติรกานันท์. (2549). การใช้สถิติในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์ : แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันทิกา ปางจุติ. (2552) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสร้างแบรนด์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Jacoby, J. ; & Chestnut, R.W. (1978). Brand Loyalty : Measurement and Management. John Wiley: New York.
Taro Yamane.(1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York. Harper and RowPublications.