ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุพันณี เชิดฉัน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ธารินทร์ รสานนท์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ปัจจัยการมีส่วนร่วม, การบริหารงานวิชาการ, ศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของปัจจัยการมีส่วนร่วมและระดับการมีส่วนร่วมของครูในการบริหารงานวิชาการของศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง ดินแดง หน่วยบริการ และศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ จำนวน 179 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทัศนคติต่อการเป็นครู อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสนับสนุนของผู้ปกครอง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู ได้แก่ ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านนโยบายในการจัดการศึกษา ด้านทัศนคติต่อการเป็นครู และด้านการสนับสนุนของผู้ปกครอง มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .73 สามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูได้ร้อยละ 54 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ทศวรรษที่สองของการปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

เกษสุนีย์ สายแก้ว. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในกลุ่มโรงเรียนศรีราชา 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

จำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูผู้สอนของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยเชียงราย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์, 10(1), 269-280.

จิตติมา อัครธิติพงศ์. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พระนครศรีอยุธยา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ณัฐณิชานันท์ พิมพ์ทอง. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารโรงเรียนทับร้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาบูรพา.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นพรัตน์ ชำนาญพืช. (2559). การบริหารงานวิชาการ โรงเรียนขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา ประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย บูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

เบญจวรรณ อินต๊ะวงศ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูสายผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. การค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2542). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี จำกัด.

พาณิภัค สุขศิริ. (2555). ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารงาน โรงเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอเกาะยาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพังงา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต.

รติกร สุวราช. (2556). ความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองที่มีต่อการบริหารงานของโรงเรียน บ้านสองแพรก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา.โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.

วาสนา รังสร้อย. (2564). ผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21 ต้องเปลี่ยนแปลงตนเองก่อน. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/521172

วีระศักดิ์ วงศ์อินทร์. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ศรียา นิยมธรรม . (2546). การศึกษาพิเศษ สารานุกรมศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

เศรษฐา เจริญผล. (2556). การศึกษาความต้องการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารงานของโรงเรียนอุลิตไพบูลย์ชนูปถัมภ์ อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตร มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสาหรับ คนพิการ พ.ศ.2551. กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สุดารัตน์ ธีรธรรมธาดา. (2557). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์พฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์และความฉลาดทางอารมณ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุภาวดี วัฒนศิริ. (2555). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนในการบริหารโรงเรียนปลวกแดงพิทยาคมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุริยะ ทรัพย์สิน. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียน สังกัดศูนย์เครือข่ายสองพี่น้อง ห้วยแม่เพรียง ป่าเด็ง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Gibson and Smith Hunt. (2000). A Study of Teacher Evolution as Its Affects the Attitude and Performance of Teachers. Michigan: The Central Michigan University.

Highett, Gilbert. (1989). The Art of Teaching. London: Methuen and Co. Ltd. Robin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30