คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
คุณลักษณะที่พึงประสงค์, ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนประถมศึกษา จําแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดสถานศึกษที่ครูสังกัด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร จำนวน 295 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Scheffe’ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมืองสมุทรสาคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านความเป็นผู้นำ ด้านความรับผิดชอบ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความสามารถทางสติปัญญา ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านความสามารถทางเทคโนโลยี 2) ผลการเปรียบเทียบคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนประถมศึกษา จำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามวุฒิการศึกษาและขนาดสถานศึกษาที่ครูสังกัด พบว่า โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
จรัล ฟังเร็ว. (2558). คุณลักษณะที่เป็นจริงและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ กลุ่ม 6 ภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.
จินดา พุ่มสกุล. (2550). คุณลักษณะผู้บริหารที่พึงประสงค์ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ลพบุรี:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
ณรงฤทธิ์ นามเหลา (2560). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, สกลนคร.
ตวงพร รุ่งเรืองศรี. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 7(1), 106.
ไตรรัตน์ ยืนยง. (2559). ภาวะผู้นำกลยุทธ์ ยุคใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 1). ตาก: ศูนย์การพิมพ์ นอร์ทเทิร์น.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพ: บิสซิเนสแอนด์ดี.
ธีรนุช วารีรักษ์ (2563). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพมหานคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
เพิ่มศักดิ์ เพิ่มประยูร. (2552). คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). ลพบุรี:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
สดุดี จีระออน. (2561). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารสถานศึกษายุคประเทศไทย 4.0 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ, ชัยภุูมิ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2546). เอกสารสาระการเรียนรู้ ประกอบชุดวิชา การพัฒนาการบริหารสถาบันการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2565, จากwww.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_Draftplan-Aug2017.pdf
สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553.กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. (2563). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สพป.สมุทรสาคร, 11-12.
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคณภาพการศึกษา (องคการมหาชน). (2545). หลักเกณฑและวิธีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สมศ.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2553). ผู้บริหารโรงเรียน:บทบาทและความท้าทายในยุคปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต2.