Active Learning: การจัดการเรียนรู้เพื่อเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 หลังวิกฤตการณ์โควิด-19

ผู้แต่ง

  • ดวงแก้ว สุหลง วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สุพินดา เลิศฤทธิ์ วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง, วิกฤตการณ์โควิด-19, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

Active Learning หรือการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยการเชื่อมโยงและบูรณาการจากความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทจากผู้ที่เป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้มาเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวก (Facilitator) ในชั้นเรียน เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา (Coach) ในระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นผู้ร่วมเรียนรู้ (Co-learner) ข้อมูลความรู้ต่างๆไปพร้อมๆกันกับผู้เรียน ตลอดจนเป็นผู้สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ (Motivator) ให้ผู้เรียนเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน เห็นคุณค่าของการเรียน และเป็นบุคคลที่เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต นอกจากนี้ครูผู้สอนยังต้องปรับเปลี่ยนขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ และวิธีวัดและประเมินผลให้มีความหลากหลาย เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนและเป็นการสร้างบรรยากาศในการเรียนให้มีชีวิตชีวา โดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในทุกองค์ประกอบของการเรียนการสอนเพื่อสร้างประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนจากการลงมือปฏิบัติจริง ในขณะเดียวกันผู้เรียนเองก็ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้ที่รับความรู้ (Receiver) ไปเป็นผู้ที่มีส่วนในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Co-Creator) ด้วยการเสนอความคิดเห็น โต้แย้ง อภิปราย ทั้งในการทำงานแบบรายบุคคลและการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม ซึ่งจะก่อให้เกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ไขปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ทักษะในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มและภาวะความเป็นผู้นำ (Collaboration Teamwork and Leadership) ทักษะด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) รวมไปถึงทักษะด้านอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งโลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ มากมาย วิกฤตการณ์โควิด-19 เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเหตุการณ์ที่อยู่เหนือการคาดการณ์ของมนุษย์ การปรับทิศทางการศึกษาด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) จึงถือเป็นหนทางในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้เยาวชนมีความพร้อมและสามารถก้าวเข้าสู่โลกแห่งศตวรรษที่ 21 ได้อย่างมั่นคง เป็นผู้ที่มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

References

กนกวรรณ ฉัตรแก้ว. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 15-16.

กรรณิการ์ ปัญญาดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จากhttps://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก https://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe.

กิตติพันธ์ วิบุลศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

จันทรา แซ่ลิ่ว. (2561). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ การจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.

จิรันธนิน คงจีน. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทางการเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นและการช่วยเสริมศักยภาพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง

มีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

จุฑามาศ บุญทวี. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ช่อรัก วงศ์สวรรค์. (2563). ความคิดสร้างสรรค์ระดับบุคคลและระดับกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่องพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ฐิติ ฟอกสันเทียะ. (2563). ข้อเสนอแนะในการปรับตัวสู่การจัดการศึกษายุคหลังโควิด-19.สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565, จาก https://bic.moe.go.th/index.php/gallery/2021-08-29-21-34-25/2350-9-ideas.

นรินทร์ วงค์คำจันทร์. (2558). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

นัยนา กวนวงค์. (2552). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จังหวัดขอนแก่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.

ปฏิวัติ พุทธะศักดิ์เมธี. (2556). การเรียนรู้เชิงรุกที่ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์ : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านวังท่าดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

แพรทิพย์ พูดเพราะ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ลัดดาวัลย์ สาระภัย. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่องการสังเคราะห์แสง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามมหาสารคาม.

วาริท์พร ฟันเฟื่องฟู (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 138.

สัญญา ภัทรากร. (2552). ผลของการจัดการเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง ความน่าจะเป็น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). จุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.kruupdate.com/.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2564). ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง การประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง). สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2565, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/044/T_0001.PDF.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการ ภาค 3 (เอกสารหมายเลข 19/2563). ราชบุรี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันอนาคตไทยศึกษา. (2563). มองภาพอนาคตประเทศไทย แนวทางการรับมือหลังวิกฤต COVID-19. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก https://www.nxpo.or.th/th/report/6300/.

อริยา คูหา, สรินฎา ปุติ และฮานานมูฮิบบะตุดดีน นอจิ. (2562). โลกที่เปลี่ยนแปลง การเรียนรู้ที่ผ่านสู่ Active Learning. วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 30(2), 6-7.

อัมพิกา ภูเดช. (2541). การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Active Learning). วารสารกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเอกชน, 7(72), 57-58.

ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2565, จาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories./Augusto Lopez-.

Claros., Arthur, L. Dahl., & Maja Groff. (2020). The Challenges of the 21st Century. Retrieved February 14, 2022, from https://www.cambridge.org/core/books/global-governance-and the-emergence-of-global-institutions-for-the-21st-century/challenges-of-the-21st-century.

Baldwin, Jill. & William, Hank. (1998) Active Learning: A Teacher’s Guide. Great Britain: T.J. Press.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D.C.: The George Washington University, School of Education and Human Development.

CATLR (Northeastern Center for Advancing Teaching and Learning Through Research). (2022). What Is Active Learning? The More We Do; The More We Learn. Retrieved 25 January, 2022, from https://learning.northeastern.edu/active-classrooms-improve-learning/.

Global Change Data Lab. (2022). School closures during the COVID-19 pandemic, April 12,2022. Retrieved 22 January, 2022, from https://ourworldindata.org/grapher/

school-closures-covid.

Jenny Pieratt. (2020). 3 Practices to Teach 21st Century Skills in a Virtual Classroom. Retrieved 27 January, 2022, from https://www.teachingchannel.com/blog/teach-virtual-classroom.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies or the College Classroom. San Francisco: Josey-Bass Publishers.

Stephen Bayley. (2019). Skills for the 21st Century and a Changing World. Retrieved 1 April, 2000, from https://www.ukfiet.org/2019/skills-for-the-21st-century-and-a-changing world.

UNICEF. (2020). Education and COVID-19. Retrieved 11 March, 2022, from https://data.unicef.org/topic/education/covid19

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-28