ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ชนาวรรณ คำอ่อน -
  • เกษิณี ผลประพฤติ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน 2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya) ตัวอย่างประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุเหร่าคลองใหม่ สังกัดสพป. สมุทรปราการเขต 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบสุ่มห้องเรียน(Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1.แผนการจัดการเรียนการสอน 2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3.แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติ t-test for dependent sample

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุเหร่าคลองใหม่ ได้คะแนนเฉลี่ย 18.36 คะแนนและมีความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.235 คะแนน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนการสอนที่มีคะแนนเฉลี่ย 9.16 คะแนน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.828 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญ .05
  2. ภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสุเหร่าคลองใหม่ ต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya) มีคะแนนเฉลี่ย 4.37 ซึ่งอยู่ในระดับ มาก ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานข้อ 2 เมื่อพิจารณาหัวข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ นักเรียนอยากให้ใช้กิจกรรมแบบนี้กับ เนื้อหาอื่น ๆ ส่วนหัวข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจน้อยที่สุด ได้แก่ นักเรียนรู้จักและอยากช่วยเหลือผู้อื่นมากขึ้นแต่หากจะพิจารณาแต่ละด้านพบว่า ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้ นักเรียนพึงพอใจ เรื่อง บรรยากาศในการเรียนน่าสนุกสนาน น่าเรียนมากที่สุด , ด้านการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา (Polya) นักเรียนพึงพอใจ เรื่อง นักเรียนอยากให้ใช้กิจกรรมแบบนี้กับเนื้อหาอื่น ๆ มากที่สุด , ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ นักเรียนพึงพอใจ เรื่อง ผู้เรียนเข้าใจและรักวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น มากที่สุด

References

กันตพร ขาวแพร. 2562. การศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้. วารสารวิชาการ Veridian E–Journal, Silpakorn University, 17(2).

กุลณัฐ เหมราช. 2561. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนรู้โดยเน้นการกําหนดปัญหากับกลุ่มที่จัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การจัดการการเรียนรู้). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

กุลธิดา ทับทิมศรี และคณะ. 2562. ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ร่วมกับเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (K-W-D-L) ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3).

กรมวิชาการ. 2561. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2558. แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2555. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการพัฒนา และประเมินสถานพอเพียงเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา. กรุงเทพฯ : ศูนย์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2560. หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. พิมพ์ครั้งีที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

จักรกฤษ แถมเงิน. 2557. การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้สมการและโจทย์ปัญหาตามแนวคิดของวิมลสันโดยใช้การเรียนรู้ แบบร่วมมือด้วยรูปแบบ STND

Trend in International Mathematics and Science Study: TIMSS, 2018. TIMSS 2011 is the fifth in IEA’s series of international assessments of student achievement dedicated to improving teaching and learning in mathematics and Science. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2565 จาก https://timssandpirls.bc.edu/timss2011/index.html

Williams. 2019. A study of the characteristic that distinguish outstanding urban Principals: Emotional intelligence, problem-solving competencies, role perception and Environmental adaptation. Retrieved October 15, 2019. From http://www.eiconsortium.org/ disscrtationabstracts/willams_h.htm

Zehra Taspinar and Mehmet Bulut. 2017. Determining of problem solving strategies used by primary 8, grade students in mathematics class. Zehra Taspinar and Mehmet Bulut/Procedia – Social and Behavioral Sciences 46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30