ศึกษาชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านสติปัญญา ของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่

ผู้แต่ง

  • กษมา แสงวิฑูรย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • กรุณา ลิ้มประเสริฐ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมเกมการศึกษา, แนวคิดมอนเตสซอรี่, ความคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อพฤติกรรมการทำงานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย และ 3) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรวมจากการประเมินพฤติกรรมการทำงานของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดมอนเตสชอรี่
ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวง จำนวน 23 คน  ได้มาจากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยตามแนวคิดของมอนเตสซอรี่ แบบประเมินทักษะคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดมอนเตสชอรี่ ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย ก่อนเรียนเท่ากับ 18.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.92 และคะแนนเฉลี่ยของชุดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดมอนเตสชอรี่ ของเด็กปฐมวัยหลังเรียนเท่ากับ 20.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.64 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของชุดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดมอนเตสชอรี่ ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย   ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า ค่า (2-tailed) มีค่า 0.003 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คะแนนหลังสอบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  2. ผลการศึกษาพฤติกรรมการทำงานของที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย พบว่า พฤติกรรมการทำงานเดี่ยว คู่ และกลุ่ม นักเรียนทุกคน จำนวนทั้ง 23 คน มีพฤติกรรมการพทงานเดี๋ยวสูงขึ้นหลังการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดมอนเตสชอรี่ ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย คิดเป็นร้อยละ 100

ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรวมจากการประเมินพฤติกรรมการทำงานเดี่ยว คู่ และกลุ่มของเด็กปฐมวัย โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาตามแนวคิดมอนเตสชอรี่ ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย พบว่า พฤติกรรมการทำงานเดี่ยว คู่ และกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

References

สถาบันราชานุกูลกรมสุขภาพจิต. (2557) . การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในเด็กปฐมวัย.[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564. จาก https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-download/5-4560-1450069638.pdf.

กมลรัตน์ กลมสุทธิ. (2555) . ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้ รับการจัดประสบการณ์ แนวมอนเตสซอรี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาการศึกษาปฐมวัย.

กรรณิการ์ ค าต๊ะ. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวมอนเตสซอรี่ที่ส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).

ปณิชา มโนสิทธยากร. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต. การค้นคว้าแบบอิส ระการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูล วันที่ 20กุมภาพันธ์ 2564. จากhttp://earlychildhood.ipst.ac.th/wp-content/uploads/sites/25/2014/09/ Mathframework-for-ECE.pdf

ขวัญหทัย สมจิตต์. (2557). การใช้กิจกรรมเกมการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์การบอกค่าจำนวน 1-5 ของนักเรียนชั้นอนุบาล 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยนเรศวร).

ปานิตา กุดกรุง. (2553). ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะครุศาสตร์, สาขาการศึกษาปฐมวัย.

ณัฏฐา มหาสุคนธ์. (2561). การจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนอนุบาลชั้นอนุบาลชั้นปีที่1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร.

YOUNGCIETY, (2561). มอนเตสซอรี่การจัดการเรียนการสอน ส าหรับเด็กปฐมวัยตอนที่ 1. ออนไลน์]. เข้าถึงวันที่ 20 ตุลาคม 2564. จาก https://www.youngciety.com/article/journal/montessori1.html

รูปแบบการสอนหรับเด็กปฐมวัย.(2564). รูปแบบการสอนแบบมอนเตสเซอรี่. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 20 ตุลาคม 2564.

จากhttps://sites.google.com/site/rupbaebkarsxnhrabdekpthmway/bthkhwam/kar-sxnbaeb-mxn-te-s-sex-ri

ฐิติมา อินทวงษ์ (2552) กระบวนการพัฒนาการคิดเชิงอนาคตของนักเรียนที่ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Berk, L. (2001) Development through the lifespan. Pearson Education India.

Laura (2009) Interventions for promoting smoking cessation during pregnancy Cochrane Database Syst Rev, 3(3).

Maureen (2008) Systematic review: comparative effectiveness of treatments to prevent fractures in men and women with jaw bone density or osteoporosis. Annals of internal medicine, 148(3), 197-213.

Zhang, F. (2006) The teaching of Mandarin prosody: A somatically-enhanced approach for second language learners (Doctoral thesis). University of Canberra, Canberra Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30