การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

ผู้แต่ง

  • ดวงแก้ว สุหลง สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อุษาพร เสวกวิ สาขาวิชาการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน, ความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ, จัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ตามกระบวนการการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรายวิชาภาษาอังกฤษ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ผู้วิจัยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนจากภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยเป็นนักเรียนกลุ่มที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษอยู่ในระดับค่อนข้างดี ปานกลาง พอใช้ และผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) และแบบทดสอบวัดความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีประสิทธิผลความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า

   1) ดัชนีประสิทธิผลความสามารถทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) มีค่าเท่ากับ 0.5426

   2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ส่วนใหญ่ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริง (Active Learning) อยู่ในระดับมากขึ้นไป

 

References

กนกวรรณ ฉัตร์แก้ว. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี.

กาโสม หมาดเด็น. (2559). ความสามารถด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษและการจัดการเรียนการสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

กรรณิการ์ ปัญญาดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

นรินทร วงค์คำจันทร์. (2558). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม, 33-35).

พงศ์รัตน์ ธรรมชาติ และ ชวลิต เกิดทรัพย์. (2564). ทบทวนบทเรียน Onsite สู่ Online กับการพัฒนาครูที่ไร้ทิศทางในยุควิกฤต COVID-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 35.

ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์, ชลธิชา ภูริปาณิก, และฐิติชัย รักบำรุง. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสารศึกาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 6.

รุ่งทิวา มากสุก. (2552). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วารินทร์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135.

สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2565). โมดูล 8 การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2565, จาก http://cid.buu.ac.th/information/doc-6.pdf.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน Classroom Action Research (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New Normal Covid-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 38.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 3 (เอกสารหมายเลข 19/2563). ราชบุรี: สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.

เสาวภา มินา. (2563). กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่จัดการเรียนรู้แบบ POE เรื่องพลังงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านม่วงหวาน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 12, 574)

อลงกรณ์ เกิดเนตร, ประภาวรรณ สมุทรเผ่าจินดา, และพันพชร ปิ่นจินดา. (2564). การจัดการชั้นเรียนออนไลน์ด้วยรูปแบบ SMILES เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในยุคเปลี่ยนผ่านการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 13(1), 296.

Baldwin, Jill. & William, Hank. (1998) Active Learning: A Teacher’s Guide. Great Britain: T.J. Press.

Dickins, M., Rea, & Edward. (1988). Some Criteria for Development of Communicative Grammar Tasks. Oxford: Oxford University Press.

Kemmis & Mc Taggart. (1998). The action research planner (3rded.). Victoria: Deakin University

Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-20