การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา เลิศคลัง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ขัตติยา ด้วงสำราญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารกิจการนักเรียน

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1. การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี และ 2. แนวทางการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภทคือ 1. แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารกิจการนักเรียนตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเพื่อหาแนวทางการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

          1) การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีค่ามัชฌิมเลขคณิต อยู่ในระดับมากทุกด้าน เมื่อเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน การส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การบริหารงานกิจการนักเรียน ด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และด้านการวางแผนงานกิจการนักเรียน

          2) แนวการบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ มีแนวทางดังนี้ 1) จัดให้มีการประชุมวางแผน รับฟังความคิดเห็นของนักเรียนผู้และปกครอง ผ่านทางสภานักเรียน ตัวแทนนักเรียน ตัวแทนผู้ปกครอง 2) จัดให้มีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานกิจการนักเรียนให้ชัดเจนในรูปแบบคณะกรรมการ มีบทบาทในการประสานงานสัมพันธ์กับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ 3) จัดให้มีการอบรม นิเทศส่งเสริมความประพฤติของนักเรียน 4) จัดให้มีการกำหนดผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน นิเทศ ติดตาม ครูที่ปรึกษาเพื่อทราบแนวทางการดูแลนักเรียน 5) จัดให้มีการนิเทศ ติดตาม สรุปผลงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน และ 6) จัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบผลการดำเนินงาน ผลการปฏิบัติกิจกรรมของงานกิจการนักเรียนในระหว่างดำเนินการ

References

ธนาภา ชมภูธัญ. (2559).การบริหารงานกิจการนักเรียนโรงเรียนบ้านแม่จะเราสองแคว สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2.การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน ณ วิทยาลัย นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา, 17 มิถุนายน 2559.

มาลินี เกศธนากร. (2556). การบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธของบุคลากรทางการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วณิชย์ เอื้อน้อมจิตต์กุล.(2556). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนงิ้วรายบุญมีรังสฤษฏ์. การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิภาวรรณ โชติสวัสดิ์. (2555). การบริหารงานกิจการนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาตามมาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2552 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ. 2560 (ปรับปรุง พ.ศ. 2562).

สุรพัชร เกตุรัตน์. (2561). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี" (การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนัญญา เรืองวานิช. (2557). แนวทางการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนนนทบุรีพิทยา คม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 7 (กรกฎาคม –ธันวาคม 2557)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30