ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถการคิดสร้างสรรค์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • วรชัย ศรีธร -
  • ธีรศักดิ์ อินทรมาตย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีมุ่งหมาย เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน และศึกษาความสามารถการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบางเสด็จวิทยาคม ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ในรายวิชากลุ่มสาระการงานอาชีพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนทั้งสิ้น 30 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชากลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชากลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี และแบบประเมินโครงงานเพื่อวัดความคิดสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้วิเคราะห์ ร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ทดสอบสถิติค่าที t-test for one sample

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  2. ความสามารถการคิดสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานมีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ในระดับคุณภาพ อยู่ในระดับดีมาก

References

สำนักงาน . (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

งามพิศ ศรีเฉลา. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานบ้าน เรื่องการแปรรูปผลไม้ ในท้องถิ่นกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การสอนแบบโครงงาน. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 4(4): 14-19.

จารุวรรณ ไร่ขาม. (2559). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่องทำปลาส้ม ไร้ก้าง กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2555). 80 นวัตกรรม: การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ส านักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ชาตรี เกิดธรรม. (2547). เทคนิคการสอนแบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2559). การพัฒนาและประเมินความคิดสร้างสรรค์ในสถานศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณีและคนอื่น ๆ. (2560). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสาร วิชาการ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ไพโรจน์คะเชนทร์. (2556). การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. สืบค้นจาก: http://www.wattoongpel.com/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

ภัทรภร ผลิตากุล. (2560). ผลของการใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเพื่อพัฒนาทักษะ การคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรี นครปฐม: คณะดุริยางคศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วัชรา เล่าเรียนดีและคนอื่น ๆ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและ ยกระดับคุณภาพการศึกษาส าหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: บริษัทเพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิทยากร เชียงกูล. (2551). จิตวิทยา ความฉลาด และความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ศิริกาญจน์โกสมภ์และดารณีค าวัจนัง. (2545). แหล่งเรียนรู้: เพื่อปฏิรูปการเรียนรู้และ หลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory). พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย นามบุรี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนสำเร็จรูปอิเล็กทรอนิกส์ ในสภาพแวดล้อม แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านโปรแกรม Moodle. ยะลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา.

สำนักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สิริสรณ์ สินธิรินทร์. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และแรงจูงใจในการ แลกเปลี่ยนความรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการจัดการ เรียนรู้วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุพัตรา เกษมเรืองกิจ. (2551). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดเห็นของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง นพบุรีศรีนครพิงค์. การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุภาวดี หาญเมธี. (2551). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). 20 วิธีการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

อภิญญา ซื่อตระกูลพานิชย์. (2550). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ วิธีการสอนแบบโครงงานวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรัญญา โชคสวัสดิ์. 2550. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยอ้างอิงกิจกรรมโครงงานเพื่อพัฒนา การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าน ระดับช่วงชั้นที่2. วิทยานิพนธ์ศึกษา ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อารีพันธ์มณี. (2546). ฝึกเด็กให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: ใยไหมเอดดูเคท.

Anderson, L W, & Krathwohl D R. (2001). A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assessing: A Revision of Bloom's Taxonomy of Educational Objectives. New York: Longman.

Lowenthal, J. N. (2006, March). Project-Based Learning and New Venture Creation. Paper presented at the NCIIA 10th Annual Meeting. Oregon: Oregon Museum of Science and Industry.

Mergendoller, J. R., Markham, T., Ravitz, J, & Larmer, J. (2006). Pervasive management of project-based learning: Teachers as guides and facilitators. In C. M. Evertson and C. S. Weinstein (Eds.), Handbook of Classroom Management: Research, Practice, and Contemporary Issues. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum, Inc.

Moursud, D. (2009). Project-Based Learning: Using Information Technology. New Delhi: Vinod Vasishtha for Viva Books Private limited.

Smith, S. C., & Piele, P. K. (2006). School leadership: Handbook for excellence. in Student Learning. 4th ed. Thousand Oaks: CA: Corwin Press. Thomas, J. W. (2000). A Review of Research on Project-based Learning. Retrieved from https://www.asec.purdue.edu/lct/HBCU/documents/ AReviewofResearchofProject-BasedLearning.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30