ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง, การส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ, ศูนย์การศึกษาพิเศษบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลางเป็นวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถาม เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองของนักเรียนศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบ Independent sample One-way ANOVA Stepwise Multiple regression ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับสถานศึกษากับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง มีความสัมพันธ์การทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมุติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้ และ 2) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง พบว่า ปัจจัยด้านนโยบาย และปัจจัยด้านการประชาสัมพันธ์ ร่วมส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คิดเป็นร้อยละ 76
References
กันรญาณี ศรีสุรักษ์. (2559). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพลู ตาหลวงวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564).
กษมา ช่วยยิ้ม และคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของ ผู้บริหาร และครูใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสุ ราษฎร์ธานี เขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก., 5(6),184-200.
ธนภูมิ งามเจริญ และสมศักดิ์ สุภิรักษ์. (2563). ปัจจัยการบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อคุณภาพ ผู้เรียน โรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก, 5(12), 183-1.
ธนสาร บัลลังก์ปัทมา. (2551). บทบาทประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษา. The City Journal, 4(85), 30-36.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร การออกแบบและการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธนธัช.
บุษบา ญาณสมเด็จ. (2559). พฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น. เรียกใช้เมื่อ 27 ธันวาคม 2563 จาก www.sahavicha.com/?name=knowledge&file.id=388.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อาร์ แอนด์ ปริ้นท์.
ศิลปากร.ประมวล ศรีขวัญใจ. (2550). การจัดการความรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอ พระนครศรีอยุธยาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา
เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศรียา นิยมธรรม. (2546). การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
สิริกร ชาลีกัน และพา อักษรเสือ. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบ พึ่งตนเองของนักเรียนตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดกู่สามัคคี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 6. วารสารสังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวันตก, 5(12), 261-274.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2563). ประกาศใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ พุทธศักราช 2563.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2562). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2551). คู่มือการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มเด็กพิการสำหรับโรงเรียนเฉพาะความพิการและศูนย์การศึกษาพิเศษ. โรงพิมพ์สำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.
อุไรวรรณ ฉัตรสุภางค์. (2550). บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรอุมา แก้วพล. (2563). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ วัดวังตะวังตก, 5(12), 136-1.
เอกอนงค์ ศรีสำอางค์ และคณะ. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการ พัฒนาการเรียนการสอน สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. SDU Res. J., 11(2), 163-17