ผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง พุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พระสุริยา ไชยประเสริฐ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สุภาณี เส็งศรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กอบสุข คงมนัส คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้, ไตรสิกขา, ไมโครเลิร์นนิง, พุทธประวัติ, ธรรมศึกษาชั้นตรี, มัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับคะแนนก่อนเรียนของนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องพุทธประวัติ และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการรู้ เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนกิ่งเพชร ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เรื่อง พุทธประวัติ (2) แบบประเมินคุณภาพกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง (3) แผนการจัดการเรียนรู้ตามตามหลักไตรสิกขา (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พุทธประวัติ มีจำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.857 และ (5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตาม หลักไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิงเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา ที่มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.786 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที แบบ dependent

          ผลการวิจัย พบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์เท่ากับ 86.8/87.83 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาร่วมกับไมโครเลิร์นนิง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องพุทธประวัติ สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี ระดับชั้นมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51)

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์, 5(1), 7-20.

บรรเทา กิตติศักดิ์. (2544). จริยธรรมทางการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทบาลัยเกษตรศาสตร์.

พระธรรมกิตติวงศ์ ทองดี สุรเตโช ราชบัณฑิต ป.ธ. 9. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม.

พระวิระพันธ์ ติกขปญฺโญ พร้อมคณะ. (2560). "การจัดการเรียนการสอนตามหลักไตรสิกขา เรื่อง พุทธประวัตินักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านเหล่าหมี จังหวัดมุกดาหาร". วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ.

ศยามน อินสะอาด. (2561). การออกแบบบทเรียนอีเลิร์นนิงเพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง.กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.

สุนีย์ ผจญศิลป์. (2546). "ผลการสอนแบบไตรสิกขาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖" ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2552). ตำราตรวจรักษาโรคทั่วไป โรคกับการดูแลรักษาและการป้องกัน. (พิมพ์ครั้ง 4). กรุงเทพมหานคร: โอลิสติก พับลิชซิ่ง.

สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2561). คู่มือดำเนินการจัดการเรียนการสอนและการสอบธรรมสนามหลวง. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

สุปรียา เปลือยหนองแข้ ประภัสสร ปรีเอี่ยม และวิลัน จุมปาแฝด. (2560). "การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบไตรสิกขา เรื่อง หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนเทศบาลวัดสระทอง เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด" , ปริญญานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

สรลักษณ์ ลีลา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล. เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติ สารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

Heinich,Robert., Molenda, Michael.,& Russel, James D. (1985). Instructional Media and the New Technologies of instruction. New York: John wiley & Sons.Jahnke,

I., Lee, Y.-M., Pham, M., & He, H. (2020). Unpacking the inherentdesign principles of mobile microlearning. Technology, Knowledge and Learning, 25, 585-619.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25