การศึกษาปัจจัยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นิธิศ วงศ์ตุลาการ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหากุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

ผลการเรียนของนักเรียน, ปัจจัยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การศึกษาปัจจัยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาปัจจัยความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียน โดยใช้ข้อมูลจากนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช จำนวน 378 คน แล้วทำการทดสอบสมมติฐานด้วยความแตกต่างระหว่างกลุ่มประชากร โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงเส้นเพื่อศึกษาความสัมพันธ์และเปรียบเทียบขนาดของผลกระทบหรือความสัมพันธ์ ผลการศึกษา พบว่า จากการวิเคราะห์ด้วยสมการถดถอยเชิงเส้น พบว่า ตัวแปรได้แก่ เรื่องเพศ เรื่องระดับการศึกษาของผู้ปกครอง เรื่องทุนการศึกษา เรื่องความตั้งใจในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยและเรื่องขนาดโรงเรียน มีนัยสำคัญทางสถิติ จากนั้นเมื่อทำการเปรียบเทียบด้วยค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐาน พบว่า ตัวแปรอิสระที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากที่สุด คือ นักเรียนที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รองลงมาคือ ระดับความตั้งใจที่จะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของนักเรียน และสุดท้ายคือ นักเรียนที่บิดามีอาชีพเป็นพนักงานเอกชน/รับจ้าง อย่างไรก็ตามจากการศึกษายังพบว่าตัวแปรอิสระที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากที่สุด คือ นักเรียนเพศชาย รองลงมาคือ โรงเรียนที่มีขนาดปานกลาง และสุดท้ายคือรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของบิดาและมารดา/ผู้ปกครอง

References

เกรียงไกร ศรีเสนพิลา. (2565). แนวทางการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมของครัวเรือนยากจน อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

แบ๊งค์ งามอรุณโชติ และ ถิรภาพ ฟักทอง. 2555. สูงต่ำไม่เท่ากัน “ทำไมการศึกษาจึงเหลื่อมล้ำ”. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์ จำกัด

ไสว วีระพันธ์ และ ธีรภัทร์ ถิ่นแสนดี. (2564). ความปกติใหม่ทางการศึกษากับความเหลื่อมล้ำที่มากยิ่งขึ้น. วารสารวิชาการรัตนบุศย์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 (พ.ค.-ส.ค. 2564) หน้า 69-83.

ณปภัช บรรณาการ. (2561). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถิติการศึกษา. คณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดรุณี จำปาทอง. (2549). การกระจายอำนาจทางการศึกษาของประเทศออสเตรเลีย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการการสภาการศึกษา.

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ สุวิมล เฮงพัฒนา และพุดตาน พันธุเณร. (2555). “ความเหลื่อมล้ำของโอกาสการศึกษาและมาตรฐานการคลังเพื่อขยายโอกาสการศึกษาให้เยาวชนยากจน”. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันพัฒนศาสตร์ ปีที่ 6. Vol.1.

ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์. (2553). ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษากับแนวโน้มของค่าจ้างในประเทศไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. การสัมมนาวิชาการประจำปี 2553, 1 สิงหาคม 2565 < http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2012/10/sec3.1_paper.pdf>

ทินลัคน์ บัวทอง. (2561). การประเมินผลกระทบของความเหลื่อมล้ำด้านทรัพยากรทางการศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นในจังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพรัตน์ ใบยา. (2555). การประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, วิชาการวัดและการประเมินการศึกษา, ศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และ ศิริพงษ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2558). “งบประมาณการศึกษาผับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน: ข้อค้นพบในประเทศไทย”. วารสารเศรษฐศาสตร์ปริทรรศน์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 9(2): 89-108.

มัทยา บุตรงาม. 2555. ความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและความ เหลื่อมล้ำทางรายได้ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัชวดี แสงมหะหมัด. (2560). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา : คุณภาพสังคมที่คนไทยมองเห็น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 8(1), 33-66.

วินิจ ผาเจริญ และคณะ. (2564).“ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของพลเมืองไทยวัยเรียนกับสถานการณ์การเรียนออนไลน์ในยุคไวรัสโควิด-19”. วารสารปัญญาปณิธาน ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2564) หน้า 1-14.

วิลาสินี บุญทวี. (2552). ค่าใช้จ่ายส่วนตัวของนักศึกษาและประสิทธิผลของหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของศูนย์ฝึกอาชีพ สวนลุมพินี. สารนิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การพัฒนามนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมจิต แดนสีแก้ว , ทนงศักด์ คุ้มไข่น้ำ และคณะ. (2559). ความเสมอภาคและโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิตสู่การสร้างคุณภาพชีวิต. วารสารราชพฤกษ์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 3, 10-17.

สรวิชญ เย่าตัก. (2547). การศึกษาสภาพเศรษฐกิจและสังคม ค่าใช้จ่ายและเหตุผลสำหรับการตัดสินใจเข้าศึกษาของนักเรียนปริญญาตรีสถาบันราชภัฎกาฬสินธุ์. สารนิพนธ์ ศ.ม. (เศรษฐศาสตร์การศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สหัทยา บุณยเกียรติ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษาและการกระจายรายได้กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย . มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช, 1 สิงหาคม 2565 ข้อมูลพื้นฐานhttp://www.nst1.go.th/home/2021/07/09/organization-history/

สิวะโชติ ศรีสุทธิยากร. (2555). วิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์แบบเบส์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลพหุระดับเมื่อตัวแปรมีความคลาดเคลื่อนจากการวัด: การศึกษาสถานการณ์จำลองแบบมอนติคาร์โลและข้อมูลจริง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี สันติพลวุฒิ และรสดา เวษฎาพันธุ์. (2558).การประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษาการลงทุนพัฒนาเครื่องผลิตแผ่นข้าวตังของวิสาหกิจชุมชนโสธรพัฒนา จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2558) หน้า 437-447.

หัสนี อับดุลมายิส. (2559). ความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษารายจังหวัดในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรรณพ เยื้องไธสง และคณะ. (2565). “ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: สภาพการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19”. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. หน้า 13-29.

อาทิตยา ศาลางาม. (2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา: ศึกษาเปรียบเทียบนโยบายการบริหารการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม. สารนิพนธ์อักษรศาสตรบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อินทุอร ศรีพรรณ. (2561). การวิเคราะห์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาเศรษฐศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Ibourk A. & Amaghouss J. (2012). “Measuring Education Inequalities: Concentration and Dispersion-Based Approach (Lessons from Kuznets Curve in MENA Region)”. World Jounal of Education. Vol.2, No.6: 51-65.

Theodore W. Schultz. (1961). “Investment in Human Capital”. The American Economic Review Vol.51,No.1: 1-17.

Thomson, S. 2018. Achievement at school and socioeconomic bankgound-an educational perspective. NPJ Sci Learn 3 (2018): 5.

World Bank. (2014). Inequality Lower Growth in a Latin America. Washington DC: The World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30