ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องไฟฟ้า ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • นรี ทองจิตต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนาวุฒิ ลาตวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์, ความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาให้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 3) ศึกษาความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 4) ศึกษาความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาให้สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ได้มาจากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการ เรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ไฟฟ้า จำนวน 4 แผนการจัดการเรียนรู้ 16 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผลต่างของคะแนน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01          2) คะแนนแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ความสามารถในการออกแบบทางวิศวกรรมศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

References

เกรียงศักดิ์ วิเชียรสร้าง. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนช้ันมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.พิมพ์คุรุสภา.

นงนุช เอกตระกูล. (2557). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ STEM เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (CPS)

ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิจัยทางการศึกษา, โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหา

และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นุชนารถ บุญโกย. (2551). การพัฒนาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราณี หีบแก้ว. (2552). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พัทธดนย์ อุดมสันติ. (2560). การพัฒนาการรู้วิทยาศาสตร์โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมตามแนวคิดสะเต็ม เรื่อง แสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาฟิสิกส์, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนาภรณ์ จินดาสวัสดิ์. (2552). ผลของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และความตระหนัก เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการสอนวิทยาศาสตร์, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริพร เครือทอง และณัฐกาญจน์ ลีสุขสาม. (2563). การศึกษาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่อง ไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศาสตร์การศึกษาและพัฒนามนุษย์, 4(1), 88.

Bybee, R. w. (2013). The case for STEM education: Challenges and opportunities. Arlington: NSTA press.

Ceylan, S., & Ozdilek, Z. (2015). Improving a Sample Lesson Plan for Secondary Science Courses within the STEM Education. Social and behavioral Sciences, 117, 223 – 228.

Edward, M., & Reeve. (2013). Implementing Science, Technology, Mathematics, and Engineering (STEM) Education in Thailand and in ASEAN. A Report Prepared for The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST).

Han, S. (2015). How science, technology, engineering, and mathematics (STEM) project - based learning (PBL) affecta high, middle, and low achievers differently: the impact of student factors on achievement. International Journal of Science and Mathematics Education, 13(5), 1089 - 1113.

Quellmalz, E. S. (1985). Needed: Better methods for testing higher-order thinking skills. Educational Leadership, 28 - 34.

Tseng, K.H., et al. (2013). Attitudes towards science, technology, engineering and Mathematics (STEM) in a project-based (PjBL) environment. International Journal of technology and Design Education, 23(1), 87 - 102.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-25