การบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การบริหารงานสถานศึกษา, หลักสังคหวัตถุ4, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามความคิดเห็นของครู จําแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยรวบรวมข้อมูลจากครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวนทั้งสิ้น 335 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานด้วย T-test และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ด้านอัตถจริยาอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับแรก รองลงมาด้านปิยวาจา และอยู่ในระดับมาก ด้านสมานัตตตา และด้านทาน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ 2) จากการเปรียบเทียบการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา โดยพิจารณาจำแนกตามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคล พบว่า เพศที่แตกต่างกัน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน และประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อการบริหารงานสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา
References
ชญานิศฐ์ รักแจ้ง. (2554). การให้บริการของสำนักงานประกันสังคมตามหลักสังคหวัตถุ 4 ตามทัศนะของผู้ประกันตนเขต กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดวันชาติ วิชาโต . (ยอดดำเนิน). (2554). “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของวัดนครสวรรค์ตาม หลักสังคหวัตถุ 4” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระครูประภัศร์ธรรมาภิรักษ์. (2562). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน. สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา พุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูอาทรปริยัติยานุกิจ (สุจิตฺโต/เพียรสองชั้น). (2556). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการบริหารงานบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
พระธนพร คุณสมฺปนฺโน (อาคะนิช). (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในการดำเนินชีวิตของประชาชนบ้านศิลา ตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. รัฐศาสตรบัณฑิต. สาขารัฐศาสตร์การปกครอง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (2545, 2553) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอน ที่ 123 ก หน้า 16, 19 ธันวาคม 2545.
พุทธทาสภิกขุ (2558). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ.
พุทธทาสภิกขุ (2549). การศึกษาสมบูรณ์แบบ : คือวงกลมที่คุ้มครองโลกถึงที่สุด. กรุงเทพมหานคร : อุษา
เลิศลัคน์ ภาคาผล. (2560). การบริหารงานสถานศึกษาโดยใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. สิ่งพิมพ์ สกศ. อันดับที่ 10/2560. พิมพ์ครั้งที่ 1 มีนาคม 2560.
อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์. (2554). “ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Campbell and et al. (1971). Education Administration. New York: University of Michigan.
Cheng, Y.C. (2000). A CMI-Triplization Paradigm for Reforming Education in the New Millennium. International Journal of Educational Management. 14(4).
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (3rd ed.). NY: Harper & Collins.