การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคล ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จรวย บุญสาลี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สรัญญา แสงอัมพร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช
  • สันติ อุนจะนำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีธรรมาโศกราช

คำสำคัญ:

หลักอปริหานิยธรรม, ผู้บริหารโรงเรียน, การบริหารงานบุคคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารในโรงเรียน เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2564 จำนวน 113 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ลักษณะแบบประเมินค่า (rating scale) และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Correlation) ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ให้ความเคารพต่อเพศสตรี รองลงมาคือ ให้ความเคารพ นับถือผู้บังคับบัญชา และหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินผลการปฏิบัติงาน รองลงมาคือ การพัฒนาบุคลากร และการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ความสัมพันธ์ระหว่างการประยุกต์ใช้หลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน อยู่ในระดับสูงมาก (r=.853**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

ประวิทย์ ปานทอง. (2564). การบริหารเชิงกลยุทธ์ตามหลักไตรสิกขากับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

พิสนุ ฟองศรี. (2552).วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : พรอพเพอตี้พริ้นท์.

พระธนพล ญาณวุฒฺโฒ. (2564). การบริหารงานเชิงบูรณาการหลักสัปปุริสธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระวิริยะ จิรธมฺโฒ. (2560). การบริหารงานบุคคลตามหลักอปริหานิยธรรมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดเทศบาลเมืองปากพนัง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. (2551). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

มาเรียม นิลพันธ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม : ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมใจ คงเจริญ. (2561). ภาวะผู้นำกับการบริหารงานบุคคลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย .

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579 . กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ทักษะที่จำเป็นแห่งอนาคต (Future Skill) เพื่อเตรียมการพัฒนาคุณภาพคนไทยทุกช่วงวัย รองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Disruption) ของโลกศตวรรษที่ 21 : ผลการศึกษาและแนวทางการส่งเสริม พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม : บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สมาน อัศวภูมิ. (2558). การบริหารสำหรับครู (ฉบับปรับปรุง). อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-21