การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7

ผู้แต่ง

  • อัครเดช กุหลาบ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
  • พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน และกลุ่มประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 จำนวน 139 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7

ผลการศึกษาพบว่า

1. การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การจัดเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านทักษะชีวิตและอาชีพ การจัดเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านทักษะพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT และการจัดเรียนรู้เพื่อพัฒนาด้านทักษะการคิดนวัตกรรมและสร้างสรรค์
2. ผลการเปรียบเทียบ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน แตกต่างกัน มีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรม สังกัดสำนักเขตการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 7 ครูต้องมีความรู้ ทักษะและเจตคติ ที่ดีต่อการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีและการสอนให้ผู้เรียนใช้เทคโนโลยี รวมถึงการปรับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ ครูต้องมีความชำนาญหรือความสามารถในการใช้กระบวนการทางความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้จินตนาการและการถ่ายทอดใช้ทักษะในการสร้างสิ่งที่มีเอกลักษณ์ของตน ครูสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎีการคิดอย่างสร้างสรรค์ เทคนิคการสร้างสรรค์ที่หลากหลายและความคิดก้าวหน้าใหม่ ๆ

References

กัญจน์ณิชา อิ่มสมบัติและอภิชาติ เลนะนันท์. (2562). การพัฒนาการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน ในโรงเรียนหนองชุมแสงวิทยาโดยใช้กระบวนการ วิจัยแบบมีส่วนร่วม.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2561). ทักษะการบริหารงานในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565 จาก http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/618.

ชนัดดา เทียนฤกษ์. (2557). วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา. การพัฒนาโมเดลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21.

บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561).การพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนสารสาสนวิเทศ คลองหลวงจังหวัดปทุมธานี. วิทยานพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกริก.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2560).“คู่แข่งไทย! เมียนมา เปิด 7 เขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ จ่อให้ต่างด้าวถือหุ้นได้ 35% โอกาสทองนักลงทุน”สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2564 จาก https://www.prachachat.net/ news_detail.php?newsid=1498522033, 2561.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579.(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทฑ ฯ. บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). จำเป็นต้องปฏิรังสรรค์การศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระพีพัฒน์ หาญโสภา. (2557). บทความวิชาการ การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21: ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ* Learning Management in 21st Century: Theory toward Implementation.

วรลักษณ์ คําหว่าง. (2559). แนวทางการพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก.

วิทยานิพนธ์ หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

วศิน ชูชาติ. (2559). การจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อส่งเสริมทักษะการ เรียนรู้ของผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ระดับปริญญามหาบัณฑิต ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันทนา สิงห์นา. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เสริมด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ต่อ มโนมติลม ฟ้า อากาศของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย,7 (ฉบับพิเศษ), 80-93.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Hersey, P. and Blanchard, H. K. (1993). Management of Organization behavior: Utilizing Human Resources. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Javadin, S. R. S. Fereshteh Amin, Maryam Tehrani and Ali Ramezani “Studing the Relationship Between Managerial/skill and Efficiency of Bank Branches.” World Applied Sciences Journal 11 (2010).

Partnership for 21st Century Skills. (2009). 21st Century Support Systems. Available:www.21stcenturyskills.org/route21/index. (Access date :Sebtember 2021).

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the Assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2, Pages: 49-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30