ทักษะชีวิตและอาชีพที่จำเป็นสำหรับครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
ทักษะชีวิตและอาชีพ, สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอทักษะชีวิตและอาชีพที่จำเป็นสำหรับครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในยุคศตวรรษที่ 21 ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องพัฒนา เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากเดิมการศึกษามุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะเพียงอ่านออก เขียนได้ (Literacy) แต่สำหรับในศตวรรษที่ 21 ต้องมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การปฏิบัติ และการสร้างแรงบันดาลใจไปพร้อมกัน ด้วยเหตุนี้สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดจาก ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ ทัศนคติ และแรงจูงใจของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่อย่างโดดเด่นแล้วยังจำเป็นที่ต้องมีองค์ประกอบของทักษะที่สำคัญในการใช้ชีวิตและการทำงานเพิ่มเติม เพื่อสามารถปรับตัว รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกดิจิทัล ที่ทุกอย่างเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบไปด้วย 3 ทักษะ ดังนี้ 1) ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม 2) ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี และ 3) ทักษะชีวิตและอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะชีวิตและอาชีพ ซึ่งในปัจจุบันมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง อาจจะมากไปกว่าทักษะการคิด ทักษะความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะความสามารถที่จะนำพาชีวิตและอาชีพที่สลับซับซ้อน ในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารที่มีการแข่งขันระดับโลก จึงต้องอาศัยความตั้งใจในการพัฒนาทักษะด้านชีวิตและอาชีพอย่างเพียงพอ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. สํานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
เจริญ ภูวิจิตร. (2560). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. เข้าถึงจาก http://www.nidtep.go.th/webnidtep2015/files/170560_Teachers%20Development21
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2566). การเรียนรู้ในยุคสมัยหน้า: ตอนรูปแบบและทฤษฎี การเรียนรู้อนาคต. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566 เข้าถึงจาก http://thanompo.edu.cmu.ac.th
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). การเสริมสร้าง “ทักษะชีวิต” ตามจุดเน้นการ พัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา – มัธยมศึกษา.สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2566,เข้าถึงจาก http://www.songtham.ac.th/wicha-nuch/การพัฒนาทักษะชีวิต๓%20(จุดเน้น].PDF
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สํานักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา. สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 1.(กรกฎาคม 2560).
อัสรี สะอีดี. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
Partnership for 21st Century Skills. (2014). Retrieved 18 January 2023. from http://www.p21.org/.
Pensri Srisawat et al. (2015). Model for Development of Professional Competencies of Physical Education Teacher in 21st Century in Educational Innovation and Information Technology. The Twelfth International Conference on e-Learning for Knowledge-Based Society, 11-12 December 2015, Thailand.
State of New Jersey Department of Education. (2014). 2020 New Jersey Student Learning Standards – Career Readiness, Life Literacies, and Key Skills. Retrieved 10 January 2023 from Introduction https://www.state.nj.us/education/cccs/2020/2020%20NJSLS-CLKS.pdf
Voogt, J. & Roblin, N. P. (2010). 21st century skills. Retrieved 10 January 2023 from http://opite.pbworks.com/w/file/fetch/61995295/White%20Paper%2021stCS_Final_ENG_def2.pdf.
World Economic Forum. (2020). These are the top 10 job skills of tomorrow – and how long it takes to learn them Retrieved 15 January 2023 from https://www.weforum.org/
agenda/2020/10/top-10-work-skills-of-tomorrow-how-long-it-takes-to-learn-them/
WHO. (1999). Life skill. Retrieved 24 January 2023 from http://www.unicef.org/lifeskills/
index_4105.html
UNICEF. (2003). Life skills. Retrieved 24 January 2023 from http://www.unicef.org/lifeskills/
index_4105.html